ข่าว/บทความ


ฟังเสียงชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม สู่เวทีเลือกตั้ง 2566

(10 พฤษภาคม 2566), อีกไม่กี่วันประเทศไทยจะเข้าสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โอกาสนี้ เพจหยุดภัยมลพิษ ชวนฟังเสียงของกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม ว่านโยบายทางสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาอยากเห็นเป็นแบบไหน และพวกเขาคาดหวังหรืออยากได้อะไรจากรัฐบาลชุดใหม่ที่ (หวังว่า) จะเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งนี้

read more...

ทำความรู้จักสามอนุสัญญานานาชาติ "บาเซล-รอตเตอร์ดัม-สตอกโฮล์ม" กับความหวังสู่อนาคตที่ปลอดภัยจากสารมลพิษ

บทความ: อนุสัญญาบาเซลฯ อนุสัญญารอตเตอร์ดัม อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ - สามข้อตกลงนานาชาติที่มุ่งเป้าแก้ไขและควบคุมสารเคมีและของเสียที่ถูกเคลื่อนย้ายและค้าขายระหว่างประเทศ มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ชวนทำความเข้าใจเป้าประสงค์และกลไกของอนุสัญญาทั้งสามตัว มองทิศทางในการแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดน

read more...

วันนี้ในอดีต: โศกนาฏกรรมไฟไหม้ "โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์" 10 พฤษภาคม 2536

(10 พฤษภาคม 2566), วันนี้ในอดีต – เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ในวันที่ 10 พฤษภาคม เวลาประมาณ 16.00 น. ได้เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานของบริษัท เคเดอร์อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือที่รู้จักกันในนาม “โรงงานเคเดอร์” ซึ่งเป็นโรงงานผลิตตุ๊กตาขนาดใหญ่เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ เครือข่ายการผลิตของบริษัทนี้มีทั้งในฮ่องกง ไต้หวัน ไทย รวมถึงอีกหลายแห่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

read more...

แบนสารแต่งเติมพลาสติก "ดีคลอเรนพลัส" และ "UV-328" แบบมีข้อยกเว้น

(5 พ.ค. 66), กรุงเจนีวา, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - ที่ประชุมรัฐภาคีของอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษตกค้างยาวนาน 186 ประเทศ ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน ว่าจะเลิกผลิตและใช้สารแต่งเติมพลาสติกสองชนิด ได้แก่ ดีคลอเรนพลัส (Dechlorane Plus) และ UV-328 เนื่องจากเป็นสารเคมีในกลุ่มสารมลพิษตกค้างยาวนาน (POPs) ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานาน สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต มีศักยภาพแพร่กระจายในระยะทางไกล และก่ออันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตได้

read more...

ผู้ประสบภัย-เครือข่ายประชาชนร้องเครือ "แอลจี" รับผิดชอบโศกนาฏกรรมก๊าซรั่วปี 2563

(8 พ.ค. 66), กรุงเทพฯ - ผู้ประสบภัยจากอุบัติภัยก๊าซสไตรีนรั่วไหลจากโรงงานของบริษัท แอลจี โพลิเมอร์ ในประเทศอินเดีย ร่วมกับ ANROEV เครือข่ายเรียกร้องสิทธิของผู้ประสบภัยด้านสิ่งแวดล้อมและภัยจากการประกอบอาชีพแห่งเอเชีย รวมตัวกันหน้าสถานฑูตเกาหลีใต้ในประเทศไทย รำลึกการครบรอบสามปีของโศกนาฏกรรมดังกล่าว โดยมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ จำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

read more...

ชาวบ้านร้องแม่น้ำพองกลายเป็นสีดำ ส่งกลิ่นเหม็น ตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ วอนหน่วยงานเร่งตรวจสอบหาข้อเท็จจริง

(21 เม.ย. 66), ขอนแก่น - ประชาชนในพื้นที่ อ. น้ำพอง ถ่ายภาพและคลิปวิดีโอแม่น้ำพองระบุว่า ขณะนี้น้ำในลำน้ำพองดำมาก และมีปลาโผล่ขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ ในขณะที่น้ำส่งกลิ่นเหม็นคาว สภาพปัญหานี้ยังพบได้ในบึงโจด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะที่เชื่อมกับแม่น้ำพองเช่นกัน จากการสอบถามเพิ่มเติมพบว่า น้ำในแม่น้ำพองเริ่มมีสีดำตั้งแต่ช่วงวันหยุดสงกรานต์เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้ยังไม่ดีขึ้น

read more...

มูลนิธิบูรณะนิเวศร่วมแถลงจุดยืน: ยกเลิกการใช้สารดีคลอเรนพลัสโดยไม่มีข้อยกเว้น

(4 พฤษภาคม 2566), กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - ฐิติกร บุญทองใหม่ มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ได้เป็นตัวแทนของเครือข่ายการกำจัดมลพิษระหว่างประเทศ (IPEN) แสดงจุดยืนต่อที่ประชุม เพื่อสนับสนุนการขึ้นทะเบียนสารดีคลอเรนพลัส (Dechlorane Plus) ให้เป็นรายการสาร POPs ในภาคผนวก A ของอนุสัญญาสตอกโฮล์ม โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ

read more...

จับตาการประชุมสามอนุสัญญานานาชาติ "บาเซล-รอตเตอร์ดัม-สตอกโฮล์ม" สู่การแก้ไขปัญหาสารมลพิาตกค้างยาวนานในกากของเสีย

(1 พฤษภาคม 2566), กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ – การประชุมรัฐภาคีของอนุสัญญานานาชาติ 3 ฉบับ ได้แก่ “บาเซล-รอตเตอร์ดัม-สตอกโฮล์ม” ประจำปี 2566 ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ชวนติดตามประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสารมลพิษตกค้างยาวนาน ซึ่งผลลัพธ์จะมีนัยยะสำคัญต่อปัญหามลพิษขยะในประเทศไทย

read more...

ชาวหนองหอยสู้ภัยมลพิษด้วยวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง

(30 เม.ย. 66), ต. วังตะเคียน อ. กบินทร์บุรี - ชาวบ้านหมู่ 4 บ้านหนองหอย ปราจีนบุรี ร่วมงานอบรมสร้างอาวุธทางความรู้ เพื่อหยุดภัยมลพิษ ด้วยวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง จัดโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)

read more...

วันนี้ในอดีต: 1 พฤษภาคม วันที่ค้นพบโรคมินามาตะอย่างเป็นทางการ

เมื่อ 67 ปีที่แล้ว ในวันที่ 1 พฤษภาคม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้จัดทำรายงานถึงสำนักงานสาธารณสุขของเมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น ว่า “พบการแพร่กระจายของโรคที่ไม่เคยรู้จักชนิดหนึ่งที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง” ไม่นานหลังจากนั้นโลกก็ได้รู้จักกับ "โรคมินามาตะ" และพิษภัยของสารปรอท ผ่านหนึ่งในโศกนาฏกรรมมลพิษที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

read more...