วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง


ชุมชนชนบทหลายแห่งถูกคุกคามจากการรุกคืบของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก จนต้องได้รับผลกระทบรุนแรงจากมลพิษของโรงงานเหล่านั้น  ซึ่งแม้จะเต็มไปด้วยเงื่อนไขที่ยากลำบาก แต่ที่ผ่านมาชุมชนหลายแห่งในหลายพื้นที่ก็ได้รวมตัวกันต่อสู้เพื่อยับยั้ง การลงทุนของอุตสาหกรรมที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและ วิถีชีวิตขึ้นในท้องถิ่นของตน  หรือในอีกหลายกรณีคือเพื่อหยุดการขยายการลงทุนทุนเพิ่มเติมของโรงงาน อุตสาหกรรมที่กำลังก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน  ขณะที่บางพื้นที่ชุมชนต้องต่อสู้เพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการก่อมลพิษ


การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้สามารถเฝ้าระวังมลพิษเพื่อปกป้อง วิถีชีวิตและสิทธิของตนเอง รวมไปถึงการศึกษาการปนเปื้อนของสารมลพิษในสิ่งแวดล้อมและการเผยแพร่ข้อมูล เหล่านี้สู่สาธารณะ ถือเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของมูลนิธิฯ  รวมไปถึงการประสานความร่วมมือกับชุมชนที่ประสบปัญหา เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน นักวิชาการทั้งจากภายในและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีความรู้และความเข้าใจ รวมถึงวิธีการบางอย่างที่จะติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังมลพิษจากอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง


ผลงานสำคัญเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและการตรวจสอบมลพิษของมูลนิธิบูรณะ นิเวศที่ผ่านมา ได้แก่ การศึกษาเรื่องพื้นที่ปนเปื้อนสารปรอทของประเทศไทย : แหล่งโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงผลิตเยื่อกระดาษ ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี (มกราคม 2556),  ภัยร้าย@ปลายปล่อง (เม.ย. 2554) เป็นรายงานการสำรวจการเผาก๊าซทิ้งที่ปลายปล่องของโรงงานปิโตรเลียมและปิโต รเคมีในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล และเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ในจังหวัดระยอง และรวบรวมเรื่องราวผลกระทบจากมลพิษของการเผาก๊าซทิ้งที่ปลายปล่องต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ, รายงานผลการตรวจวัดมลพิษอากาศในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและนิคม อุตสาหกรรมเอเชีย (พฤศจิกายน 2552) ซึ่งเป็นการตรวจวัดการปนเปื้อนสารมลพิษในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพ อากาศแบบแสดงผลตามเวลาจริง (Real time UV Ambient Air Monitor),  อะไรอยู่ในอากาศ: ความลับที่คนมาบตาพุดและคนไทยยังไม่รู้ (ตุลาคม 2548) เป็นรายงานรวมผลการวิเคราะห์ตัวอย่างอากาศที่เก็บจากพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน  พ.ศ. 2547 ด้วยเครื่องมือถังตรวจการณ์มลพิษ (Bucket Brigade)  หรือที่เรียกว่า  Suma Canister  ซึ่งใช้เทคนิคการเก็บอากาศแบบสุ่ม (Grab Sample) เป็นเครื่องมือที่ดัดแปลงมาจากอุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศและได้รับการรับรอง มาตรฐานจากสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา (US EPA)


หมายเหตุ: ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ตาม link ด้านล่าง และที่หน้า "เอกสาร/ข้อมูลเผยแพร่"
รวมทั้งสามารถชมภาพเกี่ยวกับกิจกรรมการศึกษาและตรวจสอบมลพิษได้ที่ "ห้องภาพ"

 

"ภัยร้าย@ปลายปล่อง" (เม.ย. 54)

หนังสือ "ภัยร้าย@ปลายปล่อง"
จัดพิมพ์โดย: มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
(พิมพ์ครั้งที่ 1: เมษายน 2554)

read more...

เอกสาร "แหล่งกำเนิดมลพิษมาบตาพุด" (2552)

จัดทำโดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
(2552)

read more...

โปสเตอร์ "ภัยร้ายที่ปลายปล่อง" (มิ.ย. 55)

โดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
(เผยแพร่ครั้งแรก: 28 มิถุนายน 2555)

read more...

รัฐมนตรีอุตสาหกรรมรับลูก สั่งพิจารณาการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานรีไซเคิลขยะ ที่ห้วยหิน โดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างเคร่งครัด

(10 มี.ค. 66) ฉะเชิงเทรา - รัฐมนตรีอุตสาหกรรมรับลูก สั่งพิจารณาการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานรีไซเคิลขยะ ที่ห้วยหิน โดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างเคร่งครัด

read more...

ชาวบ้านห้วยหิน อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา ประสานเสียง ห้าม อบต. ลาดกระทิง อนุญาตการสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิล ในพื้นที่

(27 ก.พ. 66) สนามชัยเขต, ฉะเชิงเทรา - ชาวบ้านห้วยหินยืนยันห้าม อบต. ลาดกระทิงอนุญาตการก่อสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิลในพื้นที่ 

read more...

อะไรอยู่ในอากาศ ความลับที่คนมาบตาพุดและคนไทยยังไม่รู้ (ต.ค. 48)

โดย กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม
กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และโกลบอลคอมมิวตี้มอนิเตอร์
(ตุลาคม 2548)

read more...

เอกสาร "แหล่งกำเนิดมลพิษมาบตาพุด" (ฉบับภาษาพม่า)

จัดทำโดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
จัดทำฉบับภาษาพม่าโดย.....

read more...

ชาวบ้านห้วยหิน อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา ประสานเสียง ห้าม อบต. ลาดกระทิง อนุญาตการสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิล ในพื้นที่

(27 ก.พ. 66) สนามชัยเขต, ฉะเชิงเทรา - ชาวบ้านห้วยหินยืนยันห้าม อบต. ลาดกระทิงอนุญาตการก่อสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิลในพื้นที่

read more...