สิทธิการเข้าถึงข้อมูลมลพิษ (PRTR)

Earth1

สิทธิการเข้าถึงข้อมูลในที่นี้หมายถึง สิทธิของประชาชนในการเข้าถึงมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่สุดข้อหนึ่ง ที่จะนำไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ตามที่มีการสรุปไว้ในปฏิญญาริโอ จากการประชุมสุดยอดแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมโลกและการพัฒนาที่กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิลเมื่อ พ.ศ. 2535 (1992)

 

การประชุมสหประชาชาติครั้งนั้นยอมรับว่า โลกมนุษย์ของเรากำลังถูกคุกคามจากมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลด้านร้ายที่สั่งสมมานับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ปัจจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมและการใช้สารเคมีอันตรายในทุกมุมโลกกำลังก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงที่คุกคามสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางและมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การป้องกันสุขภาพคนและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุดต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกส่วนและทุกระดับที่เกี่ยวข้อง ประชาชนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ข้อมูลสารมลพิษที่มีการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม และข้อมูลสารอันตรายต่างๆ จากภาครัฐอย่างสะดวกและไม่มีการปิดกั้น

 

ขณะเดียวกันรัฐก็ต้องกระตุ้นให้ประชาชนมีความตื่นตัวที่จะช่วยเฝ้าระวังชุมชนและสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในขั้นตอนการตัดสินใจต่างๆ ของรัฐด้วยการเปิดกว้างให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่รัฐกำกับดูแลอยู่ นอกจากนี้รัฐบาลของแต่ละประเทศจำเป็นต้องพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลสารมลพิษที่แสดงชนิดและปริมาณของสารมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงข้อมูลที่แสดงการเคลื่อนย้าย-การขนส่งสารเคมีอันตราย (Pollutant Release and Transfer Register) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการลดและควบคุมอันตรายจากสารมลพิษ

 

การพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการสำคัญที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพและความเข้มแข็งแก่หน่วยงานของรัฐเองในการประเมินสถานการณ์ปัญหามลพิษได้อย่างถูกต้อง และสามารถจัดการปัญหาตั้งแต่ต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มาตรการดังกล่าวยังจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถตรวจสอบระบบการผลิตภายในของตนให้รัดกุม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินกิจการในระยะยาวด้วย

ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลสารมลพิษที่มีการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม

 

หมายเหตุ: ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ตาม link ด้านล่าง และที่หน้า "เอกสาร/ข้อมูลเผยแพร่"

 

เอกสารประกอบการสัมมนาเพื่อส่งเสริมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลมลพิษ เรื่อง "มลพิษอุตสาหกรรม กฎหมาย และสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของชุมชน" (30 มี.ค. 58)

การสัมมนาเพื่อส่งเสริมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลมลพิษ 
เรื่อง "มลพิษอุตสาหกรรม กฎหมาย และสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของชุมชน"
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558
ณ โรงแรมริชมอนด์ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง จ.นนทบุรี

 

อ่านต่อ...

PRTR หมายถึงอะไร และสำคัญอย่างไร (มิ.ย. 58)

โดย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง มูลนิธิบูรณะนิเวศ

(มิถุนายน 2558)

อ่านต่อ...

สิทธิการเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีและมลพิษ (15 ส.ค. 46)

โดย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง, วลัยพร มุขสุวรรณ  และธารา บัวคำศรี
เอกสาร ประกอบเวทีสาธารณะครั้งที่ 5 การเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการมีส่วนร่วมของสังคมไทยกับการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมี
(15 สิงหาคม 2546)

อ่านต่อ...

เปิดภาพ "โกดังลับภาชี" จ. อยุธยา - สารเคมีอันตรายกว่า 4000 ตัน ซุกซ่อน-รั่วไหลนอกระบบ

วันที่ 3 มีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานได้บุกค้นโกดังเก็บสารเคมีของบริษัทเอกอุทัย จำกัด ใน ต. ภาชี อ. ภาชี จ. อยุธยา จากการตรวจสอบพบขแงเสียอันตรายหลายชนิด ถูกกักเก็บไว้โดยผิดกฎหมาย ทั้งยังพบร่องรอยการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม

อ่านต่อ...

PM 2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 2: กรณีมลพิษอากาศอุตสาหกรรมในตำนาน

ปัญหามลพิษอากาศอุตสาหกรรมในประเทศไทยเกิดขึ้นมานานแล้ว และเกิดในหลายพื้นที่ ตอนที่ 2 ของชุดบทความ PM 2.5 และอุตสาหกรรม ของมูลนิธิบูรณะนิเวศขอนำเสนอกรณีปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรม ตั้งแต่แม่เมาะ จ. ลำปาง, มาบตาพุด จ. ระยอง, และจังหวัดสมุทรสาคร

อ่านต่อ...