ข่าว/บทความ


กนอ. เร่งจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสำรองรับมือภัยแล้ง (28 ม.ค. 59)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 มกราคม 2559
กนอ.เตรียมจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสำรองภาคอุตสาหกรรมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง มั่นใจผู้ประกอบการในนิคมฯมีน้ำใช้เพียงพอ

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้ง ในปี 2559 นี้  คาดการณ์ว่าจะเกิดสภาวะแห้งแล้งมากกว่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณฝนทิ้งช่วง   ทำให้น้ำในแม่น้ำหลายสายที่เป็นแม่น้ำสายหลักป้อนน้ำเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณน้ำน้อยกว่าทุกปี  โดย กนอ.ได้เตรียม 3 มาตรการ รับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง คือ 1.มาตรการการนำน้ำที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่  หรือรีไซเคิล 2.มาตรการการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสำรอง 3.มาตรการการนำน้ำจากแหล่งพื้นที่ใกล้เคียงมาเสริมให้กับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะนิคมฯต่างๆในภาคเหนือ    และภาคกลางมีน้ำใช้ภาคการผลิตอย่างเพียงพอในช่วงหน้าร้อนมีนาคม-เมษายน 2559 นี้

 

read more...

เปิดชื่อ ‘กรรมการ’ บริษัทบารอนฯ คู่ขัดแย้ง – ไล่รื้อชุมชน ‘ชาวเลราไวย์’ (28 ม.ค. 59)

Green News TV 28 มกราคม 2559
ชื่อของ “บริษัทบารอน เวิลด์ เทรด จำกัด” ปรากฏขึ้น ภายหลังเกิดเหตุความรุนแรงกับชาวเลดั้งเดิม ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนชาวไทยใหม่ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

ชาตรี หมาดสตูล ผู้แทนบริษัทบารอนฯ ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2559 ภายหลังเกิดเหตุชายฉกรรจ์ 100 ราย ปะทะกับชาวเลจนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 10 รายว่า สาเหตุที่นำเครื่องจักรกลมาปิดทางสัญจรไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่ เนื่องจากต้องการปรับไถพื้นที่ในการก่อสร้างวิลล่า จำนวน 17 ห้อง บนเนื้อที่ 33 ไร่

 

read more...

ใกล้จบ! ปัญหาชาวบ้านเกวียนหัก ต้าน ล้งจีน จัดประชาคม 12 ก.พ. นี้ (27 ม.ค. 59)

ไทยรัฐออนไลน์ 27 มกราคม 2559
ใกล้สรุป ปัญหาโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป พื้นที่ ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี ของนักธุรกิจจีน ชาวบ้านวิตกเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทุกภาคส่วนผลักดันให้เกิดการประชาคม ชี้แจงทำความเข้าใจ 12 ก.พ. นี้...
 
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 27 ม.ค. 59 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลเกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี นายบัญชา วัฒนวงศ์ นอภ.ขลุง นายพินัย พะยม นายกเทศมนตรีตำบลเกวียนหัก นายศิลป์ชัย ตุลารักษ์ รองประธานกลุ่มเกษตรทำสวน ต.เกวียนหัก กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ต.เกวียนหัก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าประชุมร่วมกับตัวแทน บริษัทซินตงหยวน ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ เพื่อรับฟังปัญหา และร่วมกันหาทางออก หลังจากเกรงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.เกวียนหัก ซึ่งเป็นพื้นที่สีชมพู จึงเกรงจะส่งผลต่อวิถีชีวิตภาคเกษตร และอาชีพที่มีมายาวนาน จนต้องขึ้นป้ายคัดค้านการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่

read more...

รบ.ไฟเขียวงบกว่า 200 ล้านให้โคราช กำจัดขยะสะสมกว่า 5.4 แสนตัน (27 ม.ค. 59)

มติชนออนไลน์ 27 มกราคม 2559
วันที่ 27 มกราคม ที่ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ถ.สืบศิริ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา นายสุรพันธ์ ดิสสะมาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะรองประธานคณะกรรมการโครงการจัดการขยะสะสมให้ถูกหลักวิชาการ จ.นครราชสีมา ได้เรียกประชุมคณะกรรมการโครงการจัดการขยะสะสมให้ถูกหลักวิชาการ จ.นครราชสีมา เพื่อหารือและติดตามการดำเนินการการจัดการขยะสะสม ของ จ.นครราชสีมา หลังได้รับงบประมาณในการดำเนินการรวมทั้งสิ้น 212,838,700 บาท จากรัฐบาล โดยมีนายอภิวัฒน์ พลสยม ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการโครงการจัดการขยะสะสมให้ถูกหลักวิชาการ จ.นครราชสีมา นำผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารืออย่างพร้อมเพรียง

read more...

จีนจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำ (27 ม.ค. 59)

สำนักข่าวไทย 27 มกราคม 2559
เจ้าหน้าที่จีนเผยว่า จีนกำลังวางแผนเรื่องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลอยน้ำตามนโยบายเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นสองเท่าภายในปี 2563

นายสู ต๋าเจ๋อ ประธานการพลังงานปรมาณูจีนแถลงข่าวว่า เนื่องจากจีนอุทิศตนให้แก่การสร้างตัวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางทะเล จึงจะต้องใช้ทรัพยากรทางทะเลให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ขณะนี้ทางการกำลังจัดทำแผนการสร้างสถานีไฟฟ้าลอยน้ำกลางทะเลด้วยกระบวนทางวิทยาศาสตร์ที่เคร่งครัด นายสูกล่าวว่า ปัจจุบันจีนมีเตาปฏิกรณ์เดินเครื่องอยู่ทั้งหมด 30 เครื่อง มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 28.3 กิกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 24 เครื่อง มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 26.7 กิกะวัตต์ มั่นใจได้ว่าจะสามารถผลิตได้ทั้งหมด 58 กิกะวัตต์ภายในปี 2563 ตามเป้าหมายที่วางไว้

 

read more...

นศ.-ภาคปชช. ยื่น จม.ถึง แม่ทัพภาค 4 ค้านโรงไฟฟ้าเทพา หวั่นกระทบวิถีชุมชน ทำลายทรัพยากร (26 ม.ค. 59)

ประชาไท 26 มกราคม 2559
ภาคีเครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ ยื่น จม.ถึง แม่ทัพภาค 4 ค้านโรงไฟฟ้าเทพา หวั่นกระทบวิถีชุมชน ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การทำลายวัฒนธรรม วิถีชุมชนและประมงพื้นบ้าน

read more...

ประยุทธ์แจง ใช้ ม.44 ปลดล็อคผังเมืองเพื่ออุตสาหกรรม ยันยังต้องทำอีไอเอ (26 ม.ค. 59)

ประชาไท 26 มกราคม 2559
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ม.ค.2559 ว่า การใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่ง คสช. เรื่องยกเว้นการใช้ผังเมืองรวมในกิจการบางประเภท เป็นไปเพื่อให้บางพื้นที่สามารถทำอุตสาหกรรมได้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ซึ่งหากไม่ผ่าน ก็ทำไม่ได้

read more...

เครือข่ายปกป้องอันดามันฯ 'ขอคืนพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมกระบี่' ที่ไม่ยัดไส้ถ่านหิน (26 ม.ค. 59)

Citizen Thai PBS 26 มกราคม 2559
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจัดกิจกรรมบริเวณหน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 2/2559 ขอคืนพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดกระบี่ ระบุประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมกระบี่ฉบับใหม่กำลังถูกแก้ไขถ้อยคำ เพื่อเอื้อให้กระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

read more...

เครือข่ายอันดามันจี้รมว.ทส.เลิกเอื้อโรงไฟฟ้า ทวงคืนพื้นที่คุ้มครองสวล.กระบี่-ให้ใช้ฉบับเดิม (26 ม.ค. 59)

Thai PBS 26 มกราคม 2559
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ปักหลักชุมนุมหน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คัดค้านการแก้ไขประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมกระบี่

read more...

‘กนอ.’ ขยายท่าเรือ มาบตาพุดเฟส 3 (26 ม.ค. 59)

ไทยรัฐออนไลน์ 26 มกราคม 2559
เมื่อวันที่ 25 ม.ค. นายจำรัส เณรทอง ผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง เผยว่า โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 รัฐบาลได้มอบหมายให้นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย หรือ กนอ. เป็นผู้ดำเนินการอุตสาหกรรมท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 1 และ 2 เสร็จตั้งแต่ปี 2542 มีการใช้บริการส่งออกหนาแน่น ทำให้ศักยภาพท่าเรือ ในการรองรับสินค้าเริ่มมีขีดจำกัด ส่งผลให้ กนอ.ต้อง ดำเนินการขยายท่าเรือเฟส 3 ตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตามทะเลตะวันออก เป็นไปตามนโยบายและ ยุทธศาสตร์ของ กนอ. รองรับการขนส่ง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางคู่

read more...