ข่าว/บทความ
ปลัดอุตฯลุยสางปม 37 "ล้ง" บนป่าชายเลนระนอง (11 ส.ค. 59)
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 11 สิงหาคม 2559
ปัญหาการค้ามนุษย์ในภาคประมงและการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (IUU) เป็นปัญหาที่หลายหน่วยงานเร่งเข้ามาช่วยกันแก้ไข ล่าสุดเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงตรวจโรงงานในพื้นที่จังหวัดระนอง จากก่อนหน้านี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ล้งใน จ.สมุทรสาครเเล้ว
นายสมชายกล่าวว่า พื้นที่ระนองส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าชายเลน เขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ประทานบัตรเพื่อทำการขุดแร่ดีบุกมาก่อน จึงทำให้ป่าชายเลนถูกทำลายหมดสิ้นไป ประชาชนจึงเข้าครอบครองพื้นที่ จึงได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้าแก้ไข โดยขอใช้ประโยชน์ที่ดินจาก "กรมป่าไม้" มาจัดสรรให้ประชาชนอาศัยทำประโยชน์ในช่วงปี 2525-2540 (242 ไร่ 2 งาน) และอีกแปลงปี 2529-2559 (224 ไร่ 9 ตารางวา) ปัจจุบันครบกำหนดและยังไม่ได้รับอนุญาตต่ออายุจากกรมป่าไม้ (ดูตาราง) ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในภาคประมง และ IUU จึงสั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมลงตรวจสอบโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ และเรื่องสิทธิในการจัดสรรพื้นที่ร่วมกับหลายหน่วยงานอย่างเร่งด่วน
พบกากของเสียถูกลักลอบทิ้ง จ.ระยอง เป็นชิ้นส่วนผลิตยางรถยนต์ (คลิป) (11 ส.ค. 59)
PPTV 11 สิงหาคม 2559
หลังพบกากอุตสาหกรรมจำนวนมาก ถูกนำมากองทิ้งไว้บริเวณเชิงเขาในตำบลกะเฉด จังหวัดระยอง ล่าสุดอุตสาหกรรมจังหวัดระยองได้เบาะแสะแล้ว
ในจุดลักลอบทิ้ง พบ ทั้งใยแก้ว ยางสังเคราะห์ และยางรถยนต์ ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นจึงเป็นไปได้ว่า ที่มาของกากอุตสาหกรรมเหล่านี้ น่าจะเกิดจากกระบวนการผลิตยางรถยนต์ทั้งหมด โดยจุดทิ้งไว้บริเวณตีนเขา บ้านกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาต
เล็งใช้ไอทีคุมขนส่งวัตถุอันตรายจากเรือ เร่งผู้ประกอบการทำประกันภัยลดการสูญเสีย (11 ส.ค. 59)
ประชาชาติธุรกิจ 11 สิงหาคม 2559
กรมเจ้าท่าเตรียมใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยให้นายทะเบียนตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางเรือ เชื่อจะช่วยเจ้าหน้าที่ทำงานง่าย ลดอันตราย และกำจัดกากของเสียได้อย่างรวดเร็ว
นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า หลังจากกรมเจ้าท่าได้ออกระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือ ประเภทน้ำมันใช้แล้ว น้ำปนน้ำมันหรือเคมีภัณฑ์ และน้ำเสียต่างๆ พ.ศ.2558 และประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 49/2558 เรื่อง การจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความชัดเจนในเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ ซึ่งก่อนมีประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดความคุ้มครองไว้สูงเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถจัดทำประกันภัยได้ ทางกรมเจ้าท่าจึงได้มอบหมายให้สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒทำการศึกษาวิจัยและจัดทำระบบในติดตามตรวจสอบ เพื่อให้มีหลักประกันว่า หากการขนส่งของเสียจากเรือ ไปตามถนน แล้วเกิดปัญหาต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม ก็จะได้รับความคุ้มครอง ที่สำคัญผู้มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบจะมีเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบว่าผู้ประกอบการได้มีการจัดทำประกันภัยอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไร เพื่อป้องกันการใช้กรมธรรม์ที่ไม่ถูกต้องหรือเอกสารปลอม
‘อนุฯ ไตรภาคี’ เปิดผลศึกษาพลังงานทดแทนกระบี่ พบศักภาพ 3 ปี ผลิตไฟฟ้าเพียงพอความต้องการ (11 ส.ค. 59)
Green News TV 11 สิงหาคม 2559
เปิดผลการศึกษาพลังงานทางเลือก จ.กระบี่ พบมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า คาด 3 ปี ผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ ระบุ ระยะยาวผลิตได้ร่วม 1.7 กิกะวัตต์
นายกิตติชัย เอ่งฉ้วน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ คณะอนุกรรมการศึกษาการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกของ จ.กระบี่ จะนำผลการศึกษาเรื่องศักยภาพและความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานหมุนเวียน 6 ประเภท เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการศึกษาการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ (ไตรภาคี)
ภาคปชช.กระบี่ ฉะนโยบายพลังงานรัฐ สกัดการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ (11 ส.ค. 59)
สำนักข่าวอิศรา 11 สิงหาคม 2559
เครือข่ายภาคปชช. ประกาศชัดขอเวลา 3 ปีพิสูจน์ กระบี่พร้อมใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ซัดนโยบายพลังงานรัฐ สกัดการพัฒนา วอนรัฐหยุดแนวคิดสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหิน
วันที่ 11 สิงหาคม 2559 ที่ห้องจารุพงษ์ 203 ตึกกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) กรรมการภาคประชาชนในอนุกรรมการศึกษาการใช้พลังงานทดแทนของจังหวัดกระบี่ และเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน แถลงข่าว ความคืบหน้าการผลักดันกระบี่สู่จังหวัดพลังงานหมุนเวียน 100%
NPSถกกฟผ.เลื่อนโรงไฟฟ้าถ่านหิน5ปี ขอปรับอัตราค่าไฟใหม่EHIAค้างเติ่งโครงการไม่คืบ (11 ส.ค. 59)
ประชาชาติธุรกิจ 11 สิงหาคม 2559
เอ็นพีเอสหารือ กฟผ.เลื่อนโรงไฟฟ้าถ่านหิน 540 เมกะวัตต์ ใน จ.ฉะเชิงเทราออกไป 5 ปี พร้อมขอเจรจาค่าไฟฟ้าใหม่ หลังต้นทุนพุ่ง ด้าน สนพ.ระบุยังไม่ได้รับหนังสือขอปรับแผนใหม่ของเอ็นพีเอส แจงภาครัฐยังคงต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อรักษาอัตราค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับเหมาะสม
นายสิทธิพร รัตโนภาส ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ NPS เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังผลิต 540 เมกะวัตต์ บริเวณตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ยื่นแบบประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เรียบร้อยแล้ว และคาดว่า สผ.จะใช้เวลาในการพิจารณาค่อนข้างนาน อาจส่งผลให้โรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าวไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ทันตามกำหนดในปี 2560
ชาวบ้านกระบี่ร้อง ขยะถูกทิ้งกองพะเนินกลางป่าเขตอุทยาน จี้เร่งแก้ก่อนกระทบหนัก (10 ส.ค. 59)
มติชนออนไลน์ 10 สิงหาคม 2559
วันที่ 10 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้าน และนักท่องเที่ยว เนื่องจากได้มีการลักลอบทิ้งขยะจำนวนมากที่ริมถนนป่าชายเลน ใกล้กับศูนย์ราชการ ตรงข้ามโรงเก็บเครื่องจักร อบจ.กระบี่ ม.7 ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ หลังจากเดินทางไปตรวจสอบต้องตะลึงกับกองขยะจำนวนมากที่กองเรียงรายริมถนนภายในป่าชายเลน ซึ่งถนนทางไปท่าเรือของชาวประมง คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 10 ตัน มีทั้งเศษวัสดุก่อสร้าง ซากเฟอร์นิเจอร์ โถส้วม สายไฟฟ้า เศษกระจก ยางรถยนต์ และขยะทั่วไปจำนวนมาก สร้างความสกปรกเป็นอย่างมาก ทั้งๆ ที่บริเวณดังกล่าวมีป้ายห้ามทิ้งขยะของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี ติดตั้งใกล้บริเวณดังกล่าวแล้วก็ตาม
ไม่เพียงเท่านี้ กองขยะก็ยังล้นเข้าไปยังป่าชายเลนริมถนน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ รวมทั้งฝูงลิงที่อาศัยบริเวณดังกล่าว ขณะเดียวกันได้มีการร้องเรียนผ่านสื่อโซเชียลเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ และดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว เพราะอยู่ห่างจากโรงเรียน อบจ.กระบี่ และศูนย์ราชการเพียงแค่ 300 เมตร
อบต.กะเฉดร้องสอบรถบรรทุกขนขยะสีดำทิ้งบนเขาต้นน้ำ ไม่เชื่อไร้สารปนเปื้อน (10 ส.ค. 59)
มติชนออนไลน์ 10 สิงหาคม 2559
วันที่ 10 สิงหาคม นายสมศักดิ์ ศรีดี นายสมชาย สำนักไพสันต์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กะเฉด พร้อมด้วยนางพลอย จำรัสแสง ผู้ใหญ่บ้านหญิง หมู่ 8 ต.กะเฉด อ.เมืองระยอง พาผู้สื่อข่าวเข้าไปดูขยะจากโรงงาน ที่นำไปทิ้งบนเขาเว้ง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ โดย ส.อบต.และผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า เจ้าของที่บอกว่าที่ดินบนเขาจุดทิ้งขยะเป็นที่มีโฉนด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ว่าที่ดินบนเขาออกโฉนดได้อย่างไร เรื่องนี้ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าที่ดินแปลงนี้มีเอกสารถูกต้องหรือไม่
นางพลอยกล่าวว่า ได้รับแจ้งจากลูกบ้านว่ามีรถบรรทุกขนขยะจำนวนมากเข้าไปทิ้งบนเขา จึงไปตรวจสอบระหว่างสองข้างทางมีการตัดต้นยางพาราจำนวนมาก ขึ้นไปบนเขาพบกองขยะสีดำ และพบรถบรรทุกรวม 2 คัน กำลังทิ้งขยะลักษณะเป็นสีดำ รวมทั้งล้อยางลวดยางรถยนต์และเศษไม้ สอบถามทราบว่าขยะสีดำนั้นเป็นกะลาปาล์มจะนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งตนไม่เชื่อว่าจะเอามาทำปุ๋ยหมัก จึงเข้าแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ที่ สภ.สำนักทอง ก่อนหน้าเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งชาวบ้านเกรงจะมีสารปนเปื้อน
‘วาฬบรูด้า’ ตายเกยหาดบางแสน (10 ส.ค. 59)
คมชัดลึกออนไลน์ 10 สิงหาคม 2559
พบซาก ‘วาฬบรูด้า’ ลอยอยู่กลางทะเลบางแสน จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่นำเรือประมงลากขึ้นฝั่ง ก่อนตัดชิ้นส่วนไปพิสูจน์หาสาเหตุการตาย
เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 10 ส.ค.59 เจ้าหน้าที่กู้ชีพทางทะเลฉลามขาว ได้ใช้รถขุดดินทำการลากซากปลาวาฬบรูด้า ขึ้นมาไว้บนชายหาดบางแสน อำเภอเมืองชลบุรี บริเวณด้านหลังของศาลเจ้าพ่อแสน จากการตรวจสอบพบว่าซากวาฬบรูด้ามีสภาพเริ่มเน่าเปื่อย ส่วนหัวของวาฬหายไป อายุประมาณ 3 ปี น่าจะตายมาแล้วประมาณ 1 อาทิตย์ ความยาวประมาณ 7-8 เมตร ลำตัวมีความกว้างขนาด 1.20 เมตร และพบบาดแผลบริเวณลำตัวช่วงท้องยาวประมาณ 2 เมตร