ข่าว/บทความ
จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษคืบ การนิคมอุตสาหกรรมลงนามเช่าที่ดินรัฐ 18 ก.พ.นี้ (16 ก.พ. 59)
ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ 16 กุมภาพันธ์ 2559
กนอ.เดินหน้าจัดตั้งนิคมฯในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน สระแก้ว สงขลา และตาก ประเดิมลงนามเช่าพื้นที่ ต.ป่าไร่ สระแก้ว กับกรมธนารักษ์ 18 ก.พ.นี้ ในราคาไร่ละ 2.6 หมื่นบาท หรือ ต้องจ่าย 17 ล้านบาทต่อปี พร้อมเปิดให้ผู้ลงทุนเข้าพื้นที่ได้ ไตรมาสแรกปีหน้า ขณะที่อีก 2 พื้นที่รอเคลียร์ชาวบ้านออกจากพื้นที่พร้อมจ่ายค่าชดเชย มั่นใจเปิดได้กลางปี 2561
นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 12 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนว่า ขณะนี้ทาง กนอ.ได้มีการพิจารณาโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรกไว้ 3 พื้นที่ ที่มีความเป็นไปได้ก่อน ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ตากและสงขลา ซึ่งในส่วนของจังหวัดสระแก้วนั้นมีความคืบหน้ามากสุด โดยวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ ทาง กนอ.จะมีการลงนามในสัญญาเช่าพื้นที่ราชพัสดุกับกรมธนารักษ์ จำนวน 660.54 ไร่ ในตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ระยะเวลา 50 ปี เพื่อพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรม ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ตั้ง ‘อดีตบิ๊กปตท.’ กุนซือไตรภาคี หาทางออกโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ (15 ก.พ. 59)
Green News TV 15 กุมภาพันธ์ 2559
ประธานกรรมการไตรภาคีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลงนามแต่งตั้งอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. นั่งกุนซือ จ่อลงพื้นที่ จ.กระบี่ รับฟังความคิดเห็น 28-29 ก.พ.นี้
พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ (ไตรภาคี) จะลงพื้นที่ จ.กระบี่ ระหว่างวันที่ 28-29 ก.พ.นี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ขนาด 800 เมกะวัตต์
เครือข่ายคนสงขลาปัตตานี จี้ สผ.ยกเลิก EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา (15 ก.พ. 59)
PPTV 15 กุมภาพันธ์ 2559
เครือข่ายคนสงขลาปัตตานี้จี้สผ.ยกเลิก EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และกระทบพื้นที่อ่อนไหว เสนอทำใหม่ศึกษา 100 กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย
ตัวแทนเครือข่ายคนสงขลาปัตตานี ตั้งใจแสดงการคัดค้านเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการตั้งขบวนแถวพร้อมป้ายแสดงข้อความการคัดค้านไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เพื่อคัดค้านให้ยกเลิกการพิจารณาศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระสบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งตัวแทนชาวบ้านมองว่าการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา ประชาชนที่ไม่เห็นด้วย ขาดการมีส่วนร่วมในเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งขาดความเป็นธรรม ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาจะยิ่งสร้างปัญหาเรื่องสันติภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คนในพื้นที่เกิดความขัดแย้งกันเอง
เครือข่ายชายแดนใต้ยื่น สผ.ประเมินผลกระทบใหม่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-ท่าเรือ ทับที่มัสยิด-กุโบร์ (15 ก.พ. 59)
Thai PBS 15 กุมภาพันธ์ 2559
เครือข่ายประชาชนและนักศึกษาจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และท่าเทียบเรือ อ.เทพา จ.สงขลา เข้ายื่นหนังสือถึงผู้แทนเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้เริ่มจัดทำกระบวนการป
วันนี้ (15 ก.พ.2559) เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพหรือกลุ่มเปอร์มาส เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้เริ่มกระบวนการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโครงการท่าเทียบเรือใหม่ทั้งหมด เนื่องจากขั้นตอนรับฟังความเห็นของประชาชน 3 ครั้งที่ผ่านมา ไม่เปิดให้กลุ่มคนเห็นต่างเข้าร่วมในเวที นอกจากนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการจัดทำ EHIA ว่าอาจไม่เป็นไปตามกฎหมายและหลักวิชาการ
เครือข่ายชายแดนใต้ค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-ท่าเทียบเรือ ร้องประเมินผลกระทบใหม่ (15 ก.พ. 59
PPTV 15 กุมภาพันธ์ 2559
เครือข่ายประชาชนและนักศึกษาจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และท่าเทียบเรือ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เข้ายื่นหนังสือถึงผู้แทนเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้เริ่มจัดทำกระบวนการประเมินผลกระทบใหม่
วันนี้ (15 ก.พ. 59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ หรือ กลุ่มเปอร์มาตามาส เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้เริ่มกระบวนการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือ อีเอชไอเอ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโครงการท่าเทียบเรือใหม่ทั้งหมด เนื่องจากขั้นตอนรับฟังความเห็นของประชาชน 3 ครั้งที่ผ่านมา ไม่เปิดให้กลุ่มคนเห็นต่างเข้าร่วมในเวที
อบต.เขาหลวงปิดประตูขวางชาวบ้านฟังประชุม ถกไฟเขียว "เหมืองทอง" ใช้ที่สาธารณะต่อได้ (15 ก.พ. 59)
Thai PBS 15 กุมภาพันธ์ 2559
ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อยวังสะพุงปิดป้ายคำสั่ง "พื้นที่เขตควบคุม...ห้ามเข้า" กันชาวบ้านขวางประชุม อบต.เขาหลวง เพื่อพิจารณาต่อใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำเหมืองทองต่อ ขณะที่ชาวบ้านขอสื่อมวลชนและสาธารณะช่วยกันจับตาการประชุมพรุ่งนี้
วันนี้ (15 ก.พ.2559) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลาประมาณ 14.00 น. ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน อ.วังสะพุง จ.เลย ประมาณ 200 คน เดินทางมาที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง (อบต.เขาหลวง) ตามที่ก่อนหน้านี้ได้ยื่นหนังสือขอใช้สถานที่ราชการ คือ อบต.เขาหลวง ระหว่างวันที่ 15-16 ก.พ.2559 เพื่อรอติดตามผลการประชุมสภา อบต.เขาหลวง สามัญสมัยครั้งที่ 2 เพื่อลงมติในวาระค้างพิจารณา กรณีขอต่ออายุขอเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกภูเหล็ก ตามประทานบัตรที่ 26968/15574, 26969/15575, 26970/15576 และ26973/15560 บนภูทับฟ้า หมู่ 3 บ้านนาหนองบง ต.เขาหลวง ซึ่งมีการยื่นขอให้เป็นการประชุมลับ
เครือข่ายภาค ปชช.จี้ ‘มีชัย’ บัญญัติหลักสิทธิชุมชนในร่าง รธน. สร้างความเป็นประชาธิปไตย (15 ก.พ. 59)
สำนักข่าวอิศรา 15 กุมภาพันธ์ 2559
เครือข่ายภาค ปชช.ยื่นหนังสือถึง ‘มีชัย ฤชุพันธุ์’ จี้บัญญัติหลักสิทธิชุมชนใน ร่าง รธน. ให้ชัดเจน เหมือนฉบับปี 50 ชี้ที่ผ่านมาไม่ได้รับการคุ้มครอง เหตุระบบรวมศูนย์อำนาจรัฐมากเกิน หวังรื้อโครงสร้างใหม่ กระจายอำนาจ เกิดการมีส่วนร่วม
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เครือข่ายฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (คฟส.) ประกอบด้วย องค์กรภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และข้าราชการ 100 องค์กร นำโดย นายกฤษฎา บุญชัย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เข้ายื่นหนังสือต่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง ข้อเสนอการบัญญัติสิทธิประชาชนและชุมชนในด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพในร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้รับมอบ ณ อาคารรัฐสภา
‘โสภณ’ วอนใช้ ม.44 สร้างเขื่อนแม่วงก์ ย้ำไม่ทำลายป่า – ซัด ‘เอ็นจีโอ’ ดราม่า (15 ก.พ. 59)
Green News TV 15 กุมภาพันธ์ 2559
“โสภณ” ยื่นหนังสือ “บิ๊กตู่” เรียกร้องให้ใช้อำนาจ ม.44 ผลักดันเขื่อนแม่วงก์ ยืนยันเขื่อนไม่ได้ทำลายป่า
นายโสภณ พรโชคชัย ผู้ประสานงานกลุ่มสร้างเขื่อนแม่วงก์เพื่อป่าไม้ สัตว์ป่าและประชาชน พร้อมด้วยตัวแทนเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2559 เรียกร้องให้รัฐบาลผลักดันโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำหรับข้อเรียกร้องของกลุ่มฯ มีด้วยกัน 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.ขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งให้มีการสร้างเขื่อนแม่วงก์เพื่อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายโดยด่วน 2.ขอให้รัฐบาลสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยห้ามให้กลุ่มเอ็นจีโอหรือกลุ่มบุคคลอื่นใดใช้กฎหมู่ขัดขวางการตรวจสอบข้อเท็จจริง 3.ให้มีการทำประชามติเพื่อให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
ทุ่งคาร้องนายกฯเปิดเหมืองทอง ชงชาวบ้าน 2.7พันรายชื่อหนุนหากยังล่าช้างัดข้อกฏหมายส่งฟ้อง (15 ก.พ. 59)
ฐานเศรษฐกิจ 15 กุมภาพันธ์ 2559
“ทุ่งคาฮาเบอร์” ดิ้นขอเปิดเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย หลังหยุดดำเนินการไปกว่า 2 ปี เหตุกรมป่าไม้ไม่ต่อใบอนุญาตเช่าพื้นที่ เตรียมส่งหนังสือล่ารายชื่อชาวบ้านที่สนับสนุนกว่า 2.7 พันราย ถึง “ประยุทธ์” เร่งผลักดัน มี.ค.นี้ โอดถ้าไม่ได้รับการเหลียวแล อาจงัดข้อกฎหมายฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรียกค่าเสียหายกว่า 1 พันล้านบาท โทษฐานทำให้เสียโอกาส พร้อมขยายธุรกิจทำเหมืองดีบุกและพลวงในเมียนมาในอีก 2 เดือนข้างหน้า
กสม.หนุน 'สิทธิชุมชน' ตามเดิม ในร่าง รธน.ใหม่ หลักการไม่ต่ำกว่าฉบับปี 50 (14 ก.พ. 59)
สำนักข่าวอิศรา 14 กุมภาพันธ์ 2559
คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนฯ เผยร่าง รธน.ต้องนำหลัก 'สิทธิชุมชน' กลับมาไว้ในหมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ระบุหลักการสาระสำคัญต้องไม่ต่ำกว่า มาตรา 66 เเละ 67 ของ รธน.ปี 2550
สืบเนื่องจากการที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเบื้องต้นต่อสาธารณชนและเปิดรับฟังความคิดเห็น ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปนั้น
นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ขอให้นำหลักการของบทบัญญัติมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาบัญญัติแทนมาตรา 4 ในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการประกาศเจตจำนงของรัฐไทยในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค รวมทั้งรับรองหลักสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีระหว่างประเทศ