“ชุมชนบ้านพลง” มาบตาพุดร้องสารก่อมะเร็งเกินมาตรฐานไร้หน่วยงานเหลียวแล (12 ก.ย. 58)
ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2558
“ชุมชนบ้านพลง” มาบตาพุดร้องสารก่อมะเร็งเกินมาตรฐานไร้หน่วยงานเหลียวแล
(แก้ไขล่าสุด 12 กันยายน 2558 13:50 น.) |
ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชุมชนบ้านพลง มาบตาพุด เมืองระยอง ร้องสารก่อมะเร็งเกินมาตรฐานแต่ไร้หน่วยงานเหลียวแล วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการด่วน นักวิชาการชี้กรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต้องเร่งเข้ามาดำเนินการ รวมทั้งต้องทำการเฝ้าระวังสุขภาพของชุมชนในระยาว
|
|
นายสนธิ คชวัฒน์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมและเลขาธิการสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย
|
|
|
ตามที่กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานถึงมีสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ VOCs มีค่าความเข้มข้นเกินค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปีอยู่ 4 ประเภทในชุมชนต่างๆ ของพื้นที่ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้แก่สาร 1, 3 -Butadieneสาร Chloroformสาร 1, 2-Dichloroethane และสาร Benzene โดยสารอินทรีย์ระเหยง่ายดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งต่อ ประชาชนที่ได้รับสัมผัสเป็นประจำในระยะยาว
โดยเฉพาะ สาร Benzene ตรวจพบเกินมาตรฐานบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาบตาพุด สถานีเมืองใหม่มาบตาพุด ชุมชนบ้านพลง ศูนย์บริการสาธารณสุขบ้านตากวน และหมู่บ้านนพเกตุ โดยมีค่าสูงสุดที่ชุมชนบ้านพลง ซึ่งมีค่าสารเบนซินเฉลี่ย 1 ปีสูงมากโดยมีค่าเฉลี่ย 10 ปีอยู่ระหว่าง 4.5-6.0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินมาตรฐานค่าการเฝ้าระวังของประเทศไทยที่กำหนดไว้ คือ 1.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
และเกินค่าการเฝ้าระวังของ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดไว้ที่ 3.0 และ 5.0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ทำให้ระยะยาวประชาชนบริเวณดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงสูงต่อระบบเลือด เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และมะเร็งเม็ดเลือดขาวตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
|
|
นายสุนทร ปริญจิตต์
ประธานชุมชนบ้านพลง ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง
|
|
|
นายสุนทร ปริญจิตต์ ประธานชุมชนบ้านพลง ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง กล่าวว่า ชุมชนบ้านพลง ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างนิคม โดยห่างจากนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ 1.5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากโรงแยกก๊าซของ ปตท. และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ 1.0 กิโลเมตร ซึ่งไม่ว่าลมจะพัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ หรือทิศใต้ไปทิศเหนือชุมชนบ้านพลง จะได้รับสารมลพิษทั้ง 2 ทิศทาง ซึ่งช่วงนี้ลมพัดมาจากทะเลก็จะได้รับสารพิษมาจากโรงแยกก๊าซ ปตท. และโรงงานต่างในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ประชาชนใน พื้นที่ได้รับทราบข้อมูลว่า มีปริมาณสารเบนซินเกินค่ามาตรฐานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยมาเป็น เวลาหลายปีแล้ว ที่ผ่านมา จะมีทั้งหน่วยราชการ เช่น เทศบาลเมืองมาบตาพุด การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาของโรงงานต่างๆ ทั้งในนิคมอาร์ไอแอล และนิคมมาบตาพุดผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ แต่ไม่เคยมีใครมาแจ้งผลการตรวจวัดให้ชุมชนทราบเลย
โดย ชุมชนจะทราบข่าวจากการที่กรมควบคุมมลพิษแถลงข่าวบ้าง นักวิชาการนำมาแถลงบ้าง นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง และซีเอสอาร์ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ได้นำแพทย์เคลื่อนที่มาตรวจร่างกายให้ประชาชนเป็นประจำ ส่วนใหญ่ตรวจโรคทั่วไปให้คนแก่ ไม่เคยมาเจาะเลือด หรือตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเบนซินเลย
|
ทุกวันนี้ประชาชนก็กังวลอย่างมากในเรื่องสารก่อมะเร็งซึ่งก็มีประชาชนใน ชุมชนมีอาการผิดปกติทั้งระบบทางเดินหายใจ และระบบภายในร่างกายหลายคน รวมทั้งก็อยากรู้ว่าการที่สารเบนซินเกินมาตรฐานค่อนข้างมากมาจากแหล่งใดกัน แน่ เพราะมีทั้งโรงงานเม็ดพลาสติกในพื้นที่ มีรถยนต์วิ่ง มีโรงงานต่างๆ ล้อมรอบ และอยากให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการสอบสวนเรื่องมลพิษและหาต้นเหตุอย่างจริง จัง และให้ความสนใจต่อสุขภาพของประชาชนมากกว่าเดิม รวมทั้งควรจัดให้มีกองทุนสุขภาพของชุมชนเพื่อไม่ต้องให้ชุมชนเดือดร้อนจาก การเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
นายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมและเลขาธิการสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า พื้นที่ตำบลมาบตาพุด ถูกประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา มีงบประมาณพิเศษจากรัฐบาลในการลด และขจัดมลพิษอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
แต่ที่ผ่านมา ก็ยังพบว่ายังมีปัญหามลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐานในพื้นที่ของชุมชนตำบลมาบ ตาพุดในหลายชุมชน มลพิษเหล่านี้มาจากโรงงานประเภทปิโตรเคมี และโรงกลั่นน้ำมันซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือสาร VOCs โดยเฉพาะสารเบนซิน และสารบิวทาไดอีนซึ่งเป็นสารที่เป็นต้นเหตุของโรคมะเร็ง
|
|
|
จากการตรวจวัดโดยกรมควบคุมมลพิษพบว่า มีค่าเกินมาตรฐานมาตลอด 10 ปี แต่ที่ผ่านมาหน่วยราชการ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะให้ความสนใจน้อย กลับไปเน้นที่สารมลพิษประเภทฝุ่นละออง PM-10 ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น มากกว่าผลการตรวจวัดส่วนใหญ่จะมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เนื่อง จากโรงงานส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์กำจัดมลพิษ และอุปกรณ์เผาก๊าซทิ้งในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าแฟลร์ ตลอดจนในพื้นที่มีลมบกลมทะเลที่พัดค่อนข้างแรงพอสมควร ทำให้เกิดการเจือจางของมลพิษทางอากาศดังกล่าวได้ง่าย แต่ในส่วนของสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือสาร VOCs ส่วนใหญ่มาจากแหล่งกำเนิดที่ไม่แน่นอนในกระบวนการผลิต การเก็บรวบรวม และการขนถ่ายสารเคมี เช่น การรั่ว การซึมของท่อ ข้อต่อ ข้องอ การปล่อยระบายสู่อากาศจากวาล์ว การรั่วไหลจากการขนถ่ายน้ำมันและก๊าซ
รวม ทั้งในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต้องระบายก๊าซเสียออกโดยไปเผาที่ แฟลร์แต่เนื่องจากสารมลพิษมีปริมาณมากการเผาไหม้ทำได้ไม่หมดก็จะเกิดควันดำ เป็นจำนวนมากซึ่งเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในโรงงานประเภทปิโตรเคมี และโรงกลั่นน้ำมัน ควันดำเหล่านั้นก็คือ สารไฮโดรคาร์บอนที่ถูกเผาไหม้ไม่หมด หรือสาร VOCs ซึ่งอาจจะเป็นสารเบนซิน หรือสารอื่นๆ ตามประเภทของโรงงานและถูกลมพัดเข้าสู่ชุมชนทำให้มีค่าความเข้มข้นสูง
กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีประกาศเรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารเบนซีน และสาร 1, 3- บิวทาไดอีนจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2557 ได้กำหนดสารเบนซีน ต้องมีค่าไม่เกิน 7 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและ สาร 1, 3-บิวทาไดอีน ต้องมีค่าไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้วัดจากปล่อง หรือท่อระบายไอเสีย ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีใครมาดำเนินการเลย
นาย สนธิ กล่าวต่ออีกว่า เมื่อปี 2557 ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ US.EPA ได้มีข้อเสนอให้โรงกลั่นน้ำมันต้องมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพอนามัยของ ประชาชนที่อาศัยโดยรอบ โดยกำหนดให้ต้องทำการตรวจวัดสารเบนซินอย่างต่อเนื่องที่ริมรั้วของโรงกลั่น น้ำมันทุกแห่ง หรือเรียกว่า oil refinery Fenceline Benzene Monitoring ซึ่งมาตรฐานกำหนดให้ไม่เกิน 9.0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมองว่ากรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมควรนำมาประกาศใช้บ้างโดยเฉพาะพื้นที่มาบตาพุดซึ่ง เป็นเขตควบคุมมลพิษ และมีสารเบนซินเกินค่ามาตรฐาน
นอก จากนี้ ยังมองว่ากรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง จะต้องเป็นหน่วยงานหลัก และเข้ามามีบทบาทในการหาแหล่งกำเนิดมลพิษและมีมาตรการในการลดจากแหล่งกำเนิด และต้องทำให้สารเบนซินในชุมชนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานให้ได้ รวมทั้งต้องทำการเฝ้าระวังสุขภาพของชุมชนในระยาวต่อไปด้วย
|