“ผู้ก่อกำเนิด” กากแคดเมียม มีหน้าที่ตามกฎหมายมากกว่าการขนกลับ (11 เม.ย. 67)

 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "&B BOUND&BEYOND BOU ផ្លាជីនីន្នណារងទំបនាត ติดต่อเรา EN 新 SGREDONE ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 1 บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 2 บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลติ้งส์ จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) 3 กระทรวงการคลัง 4 นายศุกชัย วีรบวรพงศ์ 5 LGT BANK(SINGAPORE)LTD BANK 6 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 7 นายเอกฤทธิ์ เอกสมิทธ์ 8 นายวชิระ ทยานาราพร 9 นายเอกชัย พวงเพ็ชร์ นายธวัชตันติเมธ "ผู้ก่อกำเนิด" "ผู้ "ผู้ก่อกำเนิด"กากแคดเมียม ก่อก กากแคดเมียม แคด มีหน้าที่ตามกหมายมากกว่าการยนกลับ น้า ตาเ มีห มีหน้า ยมากก การบนก"

 

 

เป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้และรับรู้กันทั่วไปอยู่แล้วว่า บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) คือเจ้าของและผู้ก่อให้เกิด “กากแคดเมียมซอมบี้” อันตราย ปริมาณมากกว่า 13,800 ตัน ที่กำลังกระจายไปยังพื้นที่หลายจุด ใน จ. สมุทรสาคร ชลบุรี และล่าสุดนี้คือที่เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
 


“กากแคดเมียมซอมบี้” มีต้นกำเนิดจาก ต. หนองบัวใต้ อ. เมือง จ. ตาก อันเป็นที่ตั้งหลุมฝังกลบของเบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ ซึ่งในอดีตคือบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่และโรงถลุงแร่สังกะสี บริษัทจำกัดมหาชนซึ่งมีการให้สถานะตนเองว่า “เป็นผู้ผลิตโลหะสังกะสีแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
 


ผาแดงอินดัสทรีฯ เคยเป็นหนึ่งในผู้ถูกฟ้องในคดีที่ชาวบ้านลุ่มน้ำแม่ตาว อ. แม่สอด จ. ตาก ยื่นฟ้อง ว่าเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในลำน้ำแม่ตาว นาข้าว ตลอดจนสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงบริเวณที่บริษัทได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่สังกะสี เมื่อปี 2552 จนส่งผลให้ชาวบ้านล้มป่วย ผลผลิตข้าวจากที่นาแถบนั้นขายไม่ได้และต้องทำลายทิ้งด้วยวิธีพิเศษ ส่วนผืนดินยังคงใช้เพาะปลูกไม่ได้ต่อมาอีกหลายๆ ปี
 


ดังนั้นนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผาแดงอินดัสทรีฯ หรือเบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ มีความพัวพันกับปัญหามลพิษแคดเมียม เพียงแต่ผลสรุปของมลพิษแคดเมียมครั้งก่อนคือไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ และผาแดงอินดัสทรีฯ ก็รอดพ้นจากการเป็นผู้ก่อมลพิษ 
 


แต่ในครั้งนี้ เบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ เป็นผู้ขุดเอา “ตะกอนแคดเมียม” ที่ถูกฝังกลบอยู่ใต้ดินบนพื้นที่ของบริษัทฯ ขึ้นมาเอง เท่ากับเป็นผู้ปลุกเอากากอันตรายที่ถูกจัดการจบกระบวนการไปแล้วให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้นเบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ ยังได้ทำสัญญาที่จะนำส่งกากไปยังบริษัทเจ แอนด์ บี แมททอล จำกัด ที่ จ. สมุทรสาคร โดยมีการขออนุญาตส่วนราชการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2566
 


ในเรื่องการขนย้าย ทางเบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ ได้รับอนุญาตจากอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ในเบื้องต้นจึงเท่ากับว่า หากการขอขนย้ายหรือแผนของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ความรับผิดชอบย่อมเป็นของผู้อนุญาต ว่าอนุญาตในสิ่งที่ไม่ควรอนุญาตได้อย่างไร แต่สำหรับการดำเนินการจริง หากมีปัญหาในกระบวนการอย่างไร ความรับผิดชอบยังคงเป็นของเจ้าของ “สิ่งปฏิกูลและวัสดุไม่ใช้แล้ว” โดยที่เป็นหน้าที่ของผู้อนุญาตที่จะต้องกำกับ ติดตาม ควบคุม และสั่งการให้แก้ไข
 


แม้ในช่วงต้นของการขนย้าย เรื่องนี้จะยังอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 แต่ประกาศฉบับปี 2566 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นเวลาที่การขนย้ายยังคงไม่เสร็จสิ้น
 


กฎหมายปี 2566 กำหนดชัดแจ้งว่า “ผู้ก่อกำเนิด” มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องการขนส่งและการจัดเก็บสิ่งปฏิกูลและวัสดุไม่ใช้แล้ว แม้แต่เมื่อมีการนำออกนอกโรงงานไปแล้ว ดังนั้นการขนส่งหรือการจัดเก็บที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่ออกตามมาจากประกาศกระทรวงดังกล่าว จึงยังคงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ ด้วย ไม่อาจตัดตอนว่าเป็นเรื่องของเจ แอนด์ บี แมททอลฯ ลำพังได้
 


การที่นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน X ออกมาเมื่อเย็นวานนี้ (10 เมษายน 2567) ว่า ผลหารือร่วมคือ ทางเบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ รับปากว่ายินดีขนกากกลับไปหลุมฝังกลบ จ. ตาก ภายในวันที่ 30 เมษายน นี้ ก่อนตบท้ายว่า “ทุกปัญหาของพี่น้อง ผมเร่งแก้ไขอย่างเต็มที่”
 


ถ้าหากพี่น้องของนายกฯ คือ เบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ นี่ถือเป็นการแก้ไขปัญหาให้อย่างเต็มที่จริงๆ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า ในกรณีที่ “ปรากฏข้อเท็จจริงว่าสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วดังกล่าวยังไม่ได้รับการจัดการ...” ผู้ก่อกำเนิดมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้อง “นำไปจัดการจนกว่าสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนั้นจะได้รับการจัดการแล้วเสร็จตามที่ได้รับอนุญาต”
 


เพียงแต่ว่า หน้าที่ตามกฎหมายของผู้ก่อกำเนิดกากมิได้มีเพียงส่วนนี้เท่านั้น ยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อบรรดาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งกรณีกากแคดเมียมนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่าเกิดความเสียหายแผ่กระจายกว้างขวาง และอาจมีผลกระทบลึกซึ้งในระยะยาวต่อไปด้วย โดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน
 


อีกทั้งกรณีนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยมหกรรมการกระทำผิดกฎหมายอย่างขนานใหญ่ โดยอาจถึงขั้นสมรู้ร่วมคิดด้วยหรือไม่? …ประเด็นเหล่านี้ จะปล่อยผู้กระทำความผิดลอยนวลไม่ต้องรับโทษไม่ได้!!!
 


การยินยอมและยินดีต่อการรับปากของผู้ก่อมลพิษเพียงว่าจะรับผิดชอบนำกากแคดเมียมซอมบี้กลับฝังลงดินอีกครั้ง จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาแก่พี่น้องบริษัทเอกชน แต่ยังไม่ใช่การช่วยเหลือประชาชนและสังคม
 


อนึ่ง เบาด์ แอนด์ บียอนด์ฯ มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 3 อยู่ด้วย นายกฯ เศรษฐา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวง จึงต้องระวังประเด็นผลประโยชน์ซ้อนทับ ให้ดี
 


ภาพจาก: https://shorturl.at/tyFST