ชอบเล่น "รูบิก" ระวัง! นักวิจัยพบสารอันตรายที่ส่งผลต่อระบบประสาท (20 เม.ย. 60)

PPTV 20 เมษายน 2560
ชอบเล่น "รูบิก" ระวัง! นักวิจัยพบสารอันตรายที่ส่งผลต่อระบบประสาท



บูรณะนิเวศ พบ "รูบิก" มีสารอันตราย ส่งผลต่อระบบประสาท ตัวอย่างทั้งหมดผลิตจากจีน มีราคาถูก -นักเคมี เผย สารดังกล่าวระเหยเข้าร่างกายได้

 ชอบเล่น "รูบิก" ระวัง! นักวิจัยพบสารอันตรายที่ส่งผลต่อระบบประสาท
Ads by AdAsia
You can close Ad in 4 s

วันนี้ (20 เม.ย. 60) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอัครพล ตีบไธสง นักวิชาการและนักวิจัย มูลนิธิบูรณะนิเวศ เปิดเผยผลการศึกษาเรื่องการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิลใน "ลูกบิดรูบิก" ที่ดำเนินการโดย “เครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม” หรือไอเพน (IPEN) เป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยนักวิชาการสาขาต่างๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก 100 กว่าประเทศ หรือ 700 กว่าองค์กร

จากการสำรวจตลาดของเล่นเด็กครั้งล่าสุดทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศพบว่า “ลูกบิดรูบิก” หรือลูกบาศก์เรียงสี ที่นิยมให้เด็กเล่นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชาว์ปัญญา มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและพัฒนาการทางสมองของเด็กปนเปื้อนอยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ มูลนิธิบูรณะนิเวศได้สำรวจและซื้อลูกบิดรูบิกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล จากหลายจังหวัดในประเทศไทยระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2558  รวม 9 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด ผลการวิเคราะห์พบว่า ลูกบิดรูบิกจำนวน 9 ตัวอย่างจากประเทศไทย มี 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณสารโบรมีนทั้งหมด สูงเกิน 1,000 ppm และจากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเคมี สาธารณรัฐเช็ก เฉพาะ 2 ตัวอย่างที่มีโบรมีนรวมเกิน 1,000 ppm โดยพบว่าทั้งสองตัวอย่างปนเปื้อนสาร OctaBDE ที่มีปริมาณเข้มข้นสูง 25 – 48 ppm และสาร DecaBDE มีปริมาณเข้มข้นสูง 21 – 23 ppm ทั้งนี้มี 1 ตัวอย่างที่มีสาร HBCD ในปริมาณเข้มข้น 5 ppm

ทั้งนี้ สารเคมีทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวเป็นอันตรายต่อพัฒนาการทางสมอง สามารถทำลายระบบประสาท และทำให้เกิดปัญหาต่อพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็ก นอกจากนั้นยังเป็นพิษและก่อให้เกิดมะเร็งในตับได้ โดย ปัจจุบัน สาร OctaBDE และ HBCD เป็นสารเคมีที่ทั่วโลกห้ามใช้ตามอนุสัญญาสต็อกโฮล์ม ขณะที่ สาร DecaBDE เป็นสารเคมีที่กำลังจะมีการเสนอให้ทั่วโลกห้ามใช้ตามอนุสัญญาสต็อกโฮล์มในการประชุม COP8