ทำความรู้จัก 43 คณาจารย์หนุน ‘ถ่านหิน’ ใครเป็นใครใน ‘ชมรมนักวิชาการพัฒนายั่งยืน’ (7 ธ.ค. 60)
Green News TV 7 ธันวาคม 2560
ทำความรู้จัก 43 คณาจารย์หนุน ‘ถ่านหิน’ ใครเป็นใครใน ‘ชมรมนักวิชาการพัฒนายั่งยืน’
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2560 คณาจารย์จากหลากหลายสถาบันการศึกษา รวม 43 ชีวิต ได้ลงนามในหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อ.เทพา จ.สงขลา โดยยืนยันว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการระบุถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นจากถ่านหิน และทั่วโลกยังไม่มีข้อมูลการเจ็บป่วยร้ายแรงหรือเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด
สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews) ชักชวนทำความรู้จัก 43 นักวิชาการ ในนามชมรมนักวิชาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ว่าใครเป็นใคร และมีผลงานอะไรมาบ้าง
สำหรับสมาชิกชมรมนักวิชาการฯ 43 ราย แบ่งออกเป็น จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 11 ราย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 11 ราย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 ราย มหาวิทยาลัยมหิดล 6 ราย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันนทา 2 ราย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1ราย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 ราย วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย 1 ราย มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 ราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 1 ราย และนักวิชาการอิสระ 5 ราย
ทั้งนี้ ประกอบด้วย
—– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย —–
1.รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ อดีตหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการอิสระบริษัทสยามสติลซินดิเกต จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี กรรมการสมาคมวิศวกรเหมืองแร่ไทย และหัวหน้าโครงการจัดทำรายงานการศึกษาและแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ จ.พิจิตร และ จ.เลย
2.ผศ.ดร.สุนทร พุ่มจันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพิเศษเทคนิคเหมืองแร่ ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน)
3.ผศ.ดร.เกรียงไกร มณีอินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4.รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5.ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6.ดร.อภิสิทธิ์ น้ำประสานไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7.รศ.ดร.ดาวัลย์ วิวรรธนเดช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8.ดร.กิตติพงศ์ จงกิตตินฤกร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9.ผศ.ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10.ผศ.ดร.สุรพล ภู่วิจิตร อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 11.ดร.ราฟาแอล บิสเซ่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—– มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ —–
12.ผศ.ดร.มนูญ มาศนิยม หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 13.ดร.สมชาย แซ่อึ้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14.รศ.ดร.พิษณุ บุญนวล นายกสมาคมวิศวกรเหมืองแร่ไทย อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15.อาจารย์วิฒเนศว์ ดำคง ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 16. ผศ.ดร.วิษณุ ราชเพ็ชร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
17.ดร.พงศ์พัฒน์ สนทะมิโน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 18. ผศ.ดร.ชยุต นันทดุสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 19.ผศ.ดร.เกื้ออนันต์ เตชะโต คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
20.รศ.ดร.อภิรดี แซ่ลิ้ม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อดำเนินโครงการมากกว่า 20 โครงการ งบประมาณรวมประมาณ 50 ล้านบาท และเป็นผู้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมภาคใต้ (โครงการโรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 2)
21.ผศ.ดร.ศราวุธ เจะโส๊ะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ร่วมกับ กฟผ.จัดทำฐานข้อมูลด้านสังคม เศรษฐกิจและภาวะสุขภาพของประชาชนบ้านคลองประดู่ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา
22.นายสนั่น พ็งเหมือน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ร่วมกับ กฟผ.การจัดทำฐานข้อมูลด้านสังคม เศรษฐกิจและภาวะสุขภาพของประชาชนบ้านคลองประดู่ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา และเป็นผู้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมภาคใต้ (โครงการโรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 2)
—– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ —–
23.ดร.คมสูรย์ สมประสงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 24.รศ.ดร. ไพรัช จรูญพัฒนพงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25.นายศุภกานต์ ธิเตจ๊ะ นักวิทยาศาสตร์ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
—– มหาวิทยาลัยมหิดล —–
26.ผศ.ดร.ธีระพงศ์ สันติภพ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนร่วมใน EHIA ไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโครงการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านสังคมเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโรงไฟฟ้าวังน้อย
27.ผศ.ดร.เทียนไชย ตันไทย มหาวิทยาลัยมหิดล 28.ผศ.ดร.บันลือ เอมะรุจิ อดีตรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 29.ดร.ธีรวัฒน์ เสมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 30.ดร.ภก.ธีรธร ยูงทอง สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนร่วมใน EHIA ไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และโครงการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านสังคมเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโรงไฟฟ้าวังน้อย ปี 2560
31.ดร.เพชญ์ เดชรัตน์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับทุนสนับสนุนจาก กฟผ.ทำการศึกษาแบบจำลองเพื่อประเมินผลกระทบและมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากพื้นที่การเตรียมถ่านหิน
—– มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา —–
32.ผศ.พล.ต.ท.ดร. ณรงค์ กุลนิเทศ นิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันนทา มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำโครงการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง โครงการจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง และโครงการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
33.ดร.ณิช วงศ์ส่องเจ้า หัวหน้าสาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีส่วนร่วมในโครงการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง โครงการจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง และโครงการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
ร่วมกับ กฟผ.จัดทำโครงการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง เป็นผู้ช่วยนักวิจัยโครงการจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง เป็นนักวิจัยโครงการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
—–สถาบันอื่นๆ และนักวิชาการอิสระ —–
34.รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 35.รศ.ดร.อำไพพรรณ ภราดร์นุวัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 36.นายอภิชาต ณพิกุล ครูเชี่ยวชาญ คศ.4 วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย 37.อาจารย์ณัฐกานต์ ภูมิโคกรักษ์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 38.อาจารย์สุทธิเทพ รมยเวศน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
39.ศดร.ไพทูลย์ ตันติเวชวุฒิกุล 40.นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน 41.นายสุรพันธ์ วงษ์โสภาสี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน 42.ดร.อุริช อัชชโคสิต นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน 43.นายปิยะวัฒน์ พรหมรักษา นักวิจัยจากสถานีเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน จ.ระนอง มีมีส่วนร่วมใน EHIA โรงไฟฟ้ากระบี่ และร่วมกับ กฟผ.จัดทำโครงการวิจัยอื่นๆ อาทิ การปลูกหญ้าทะเล จ.ระยอง