ประชารัฐร่วมใจ แยกทิ้งขยะอันตราย (29 พ.ย. 60)
ข่าวสารสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ 29 พฤศจิกายน 2560
ประชารัฐร่วมใจ แยกทิ้งขยะอันตราย
ประชารัฐร่วมใจ แยกทิ้งขยะอันตราย
วันที่ 28 พฤศจิกายน2560 นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับนายชาตรี วัฒนเขจร รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้แนวทาง "ประชารัฐร่วมใจแยกทิ้งขยะอันตราย" และการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนประกอบด้วย1) กรมควบคุมมลพิษ 2) กรุงเทพมหานคร และ3) หน่วยงานภาคเอกชนชั้นนำ 11 องค์กร ได้แก่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัดบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัดบริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และสมาคมศูนย์การค้าไทยณ อุทยานเบญจสิริ กรุงเทพมหานคร
โครงการ"ประชารัฐร่วมใจ แยกทิ้งขยะอันตราย"เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เช่น ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้นมีเป้าหมายในการเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถแยกทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชน ซึ่งนำร่อง 5 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่มือถือ ซากโทรศัพท์มือถือ ถ่านไฟฉาย หลอดฟูออเรสเซนต์ และภาชนะปนเปื้อนที่เป็นอันตราย อาทิ กระป๋องสเปรย์และนำไปทิ้งที่จุดทิ้งของเสียอันตราย (จุด Drop off) เพื่อให้กรุงเทพมหานครเก็บรวบรวมนำไปกำจัดอย่างถูกต้องซึ่งขยะอันตรายเหล่านี้ หากทิ้งรวมกับขยะทั่วไปและได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกวิธีและเกิดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม อาจส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
นโยบายในด้านการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน สรุปได้ดังนี้1) การจัดการขยะอันตรายต้องมีการเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการแยกทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชน 2) ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการตั้งแต่การแยกทิ้ง ไม่ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป มีจุดรับทิ้งของเสียอันตรายมีการรวบรวม ขนส่ง และนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางและ3) เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการของเสียอันตราย ขยายจุด Drop off ในปีต่อๆ ไปและครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้นทั้งนี้ การดำเนินโครงการตามแนวทาง"ประชารัฐร่วมใจ แยกทิ้งขยะอันตราย" ได้เริ่มต้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้ที่ประสงค์จะแยกทิ้งขยะอันตราย สามารถนำของเสียอันตรายไปทิ้งได้ ณ จุด Drop off ที่กำหนดและจุด Drop off ที่มีสัญลักษณ์ข้างต้น
ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมมลพิษ
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๙๘ ๒๐๖๕, ๐ ๒๒๙๘ ๒๐๖๙ โทรสาร ๐ ๒๒๙๘ ๕๓๗๔ www.pcd.go.th
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม www.mnre.go.th