กกพ. ดันการแข่งขันใน "กิจการก๊าซธรรมชาติ" เปิดให้จองความสามารถในการให้บริการสถานีแอลเอ็นจีมาบตาพุด (24 ส.ค. 60)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 สิงหาคม 2560
กกพ. ดันการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ เปิดให้จองความสามารถในการให้บริการสถานีแอลเอ็นจีมาบตาพุด

กกพ. เดินหน้าผลักดันการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ เปิดให้จองความสามารถในการให้บริการสถานีแอลเอ็นจีมาบตาพุด

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ภายหลัง จากที่ กพช. ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 เห็นชอบเรื่องแผนระบบรับส่งและโครงการสร้างพื้นฐานก๊าซ ธรรมชาติเพื่อความมั่นคง ในการรองรับการจัดหาและนำเข้า (LNG) โดยให้ดำเนินโครงการ ขยายกำลังการแปรสภาพ LNG ของมาบตาพุด LNG Terminal เพิ่มเติมอีก 1.5 ล้านตันต่อปี ในวงเงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีกำหนดส่งก๊าซเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในปี 2562 โดยโครงการดังกล่าวมี บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ และเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ออก ประกาศเชิญชวนจองความสามารถในการให้บริการของมาบตาพุด LNG Terminal สำหรับกำลังการแปรสภาพ LNG ส่วนขยายเพิ่มเติม 1.5 ล้านตันต่อปี (กำลังการผลิตสูงสุดรวมเป็น 11.5 ล้านตันต่อปี)

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ได้รายงานผลการเตรียมความพร้อมต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ทราบถึงรายละเอียดการเปิดให้จองความสามารถในการ ให้บริการของสถานีแอลเอ็นจี มาบตาพุด ส่วนขยายเพิ่มเติม 1.50 ล้านตันต่อปี ว่า บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะให้ผู้ที่ ประสงค์จะขอใช้บริการยื่นหนังสือแสดงเจตจำนง พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2560 ในเวลา 10.00 น. ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ในเวลา 17.00 น. (เฉพาะในเวลาทำการของบริษัท) โดยบริษัทฯ จะประกาศผล การจัดสรรปริมาณความสามารถในการให้บริการในวันที่31 ตุลาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ซึ่งขณะนี้ได้มีการ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการ (Shipper) ของสถานีแอลเอ็นจี มาบตาพุดแล้ว จำนวน 2 ราย คือ บริษัท ปตท. จ ากัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

“ที่ผ่านมา กกพ. ได้พยายามผลักดันให้ผู้ประกอบกิจการพลังงานรายใหม่เข้าใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซ ธรรมชาติหรือสถานีแอลเอ็นจีผ่านการจัดสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจถึงหลักการและข้อกำหนดในการใช้หรือ เชื่อมต่อกับระบบส่งก๊าซธรรมชาติ หรือการใช้บริการสถานีแอลเอ็นจี (TPA Code) ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด โดย กกพ. มุ่งหวังที่จะให้เกิดการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และมีความโปร่งใส เพื่อให้ผู้ใช้พลังงานได้รับประโยชน์สูงสุด” นายวีระพล กล่าวเสริม