ชี้ขาดคลองด่านขึ้นศาลยุติธรรม (8 เม.ย. 60)
ไทยโพสต์ 8 เมษายน 2560
ชี้ขาดคลองด่านขึ้นศาลยุติธรรม
กรุงเทพฯ * คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดทุจริตคลองด่านอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม เนื่องจากคดีมีมูลเหตุการทุจริต เป็นการกระทำความผิดทางอาญาเป็นหลัก
เมื่อวันศุกร์ นายนิกร ทัสสโร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพาก ษาคำขอชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นคำขอในส่วนแพ่งคดีทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ที่พนักงานอัยการฟ้องนายปกิต กิระวานิช อายุ 81 ปี อดีตอธิบดี กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม, นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์พิบูรณ์ อายุ 66 ปี อดีตรองอธิบดี คพ. และนางยุวรี อินนา อายุ 56 ปี ผอ.กองจัดการคุณภาพน้ำ เป็นจำเลยที่ 1-3 ในคดีหมายเลขดำ 1682/2557 และศาลอาญา โดยองค์คณะแผนกคดีทุจริตและประ พฤติมิชอบ มีคำพิพากษาวันที่ 17 ธ.ค.58 ให้จำคุกคนละ 20 ปี ฐานเป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จัดซื้อ ทำ จัดการรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ร่วมกันเอื้อประ โยชน์ให้ใช้ที่ดินของบริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ฟิชเชอรี่ จำกัด บริษัทในเครือการก่อสร้างโครง การ และเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี (NVPSKG JOINT VENTURE) ให้ได้รับการคัดเลือกเข้าทำสัญญาโครงการของกรมควบคุมมลพิษ รวมทั้งให้ ผ่านคุณสมบัติในการประกวดราคา และเพิ่มวงเงินงบประมาณก่อ สร้างโครงการโดยไม่ชอบด้วยกฎ หมายว่า เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่าน มา ศาลอาญาคดีทุจริตและประ พฤติมิชอบกลางได้อ่านคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล จากกรณีที่จำเลยทั้งสามได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คำขอส่วนแพ่งที่ คพ.หน่วยงานรัฐที่ได้รับความเสียหาย และให้จำเลยชด ใช้นั้น เป็นอำนาจของศาลปกครอง
นายนิกรกล่าวว่า แต่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาแล้วเห็น ว่า คำขอส่วนแพ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เนื่องจากคดีมีมูลเหตุการทุจริตจนนำไปสู่การไต่สวนและการดำ เนินกระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่อง มาตรการปราบปรามการทุจริต เป็นการกระทำความผิดทางอาญาเป็นหลัก ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองที่จะเป็นการทำละเมิดทางปกครอง จึง วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีระหว่างพนัก งานอัยการ (โจทก์) กับ คพ. (ผู้ร้อง) และนายปกิต กิระวานิช, นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์พิบูรณ์ และนางยุวรี อินนา จำเลยทั้งสาม อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เมื่อเป็นดังนี้ คดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการทุจริตจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาคดีทุจริตกลาง แต่ส่วนคดีที่เกี่ยวกับการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่รัฐโดยแท้ที่ไม่มีการทุจริต ก็เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง
"ขั้นตอนต่อไปเมื่อคณะกรรมการฯ วินิจฉัยให้คดีเกี่ยวกับการทุจริตโครงการคลองด่านอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรมเช่นนี้แล้ว จากนี้ศาลยุติธรรมก็จะดำเนินการตามรูปคดีต่อไป โดยคดีนี้ในส่วนอาญา จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว สำหรับในรายละเอียดส่วนแพ่งของค่าเสียหายนั้น คพ.ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายทั้งที่เป็นเงินบาทและเงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ รวมประมาณ 8,430 ล้านบาท ซึ่งกระบวนพิจารณาที่เป็นส่วนคำขอทางแพ่งนั้น หากจำเลยแต่งตั้งทนายความไว้แล้ว ในการไต่สวนจำเลยจะไม่มาศาลก็ได้" นายนิกรกล่าว
เมื่อถามว่า หากศาลมีคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ออกมาว่าจะต้องให้จำเลยทั้งสามชดใช้แล้ว จำเลยยังมีสิทธิ์อุทธรณ์ ฎีกาผลคดี ได้อีกหรือไม่ นายนิกรกล่าวว่า ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีหลักว่าการอุทธรณ์หรือการฎีกานั้นสามารถดำเนินการได้ แต่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้ชำระมาวางศาลด้วย และการอุทธรณ์ก็ไม่เป็นการทุเลาการบังคับ ตามคำพิพากษา เว้นแต่ว่าผู้อุทธรณ์ได้วางเงินต่อศาลจำนวนเงินที่พอแก่การชำระหนี้ตามคำพิพากษา หรือหาประกันมาให้ศาล มิเช่นนั้นก็จะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์.