"ชาวประมงหัวหิน" ห่วงทะเลวิกฤติ! (12 มี.ค. 60)
คมชัดลึกออนไลน์ 12 มีนาคม 2560
ชาวประมงหัวหินห่วงทะเลวิกฤติ
ชาวประมงหัวหินห่วงทะเลวิกฤติ! หลังกรมเจ้าท่าขุดลอกคลองเอื้อเรือพาณิชย์แถมเอาดินโคลนทิ้งทะเล ทำน้ำทะเลขุ่น วอนทช.ตรวจสอบ เหตุขุดเจาะใช้เวลา48วัน
(วันนี้12มีนาคม2560 )ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิษณุ กล้าขาย ส.อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ เขตอำเภอหัวหิน และกลุ่มชาวประมงเรือเล็กบ้านหัวดอน หมู่บ้านเขาตะเกียบ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เข้าร้องเรียนสื่อมวลชนให้มีการตรวจสอบการขุดลอกร่องน้ำ บริเวณปากคลองบ้านหัวดอน เขาตะเกียบซึ่งปัจจุบันกรมเจ้าท่าได้ปรับปรุงและสร้างเป็นท่าเทียบเเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าว เส้นทางหัวหิน-พัทยา
ชาวประมงหัวหินห่วงทะเลวิกฤติ!
ส่วนเรือประมงพื้นบ้าน หรือกลุ่มเรือเล็กของชาวบ้านกว่า 100 ลำ จะอาศัยจอดเทียบท่าด้านในคลองเขาตะเกียบ แต่ปัจจุบันพบว่ากรมเจ้าท่าได้นำเรือโป๊ะบรรทุกแบ๊คโฮ และเรือกรมเจ้าท่า และของผู้รับเหมามาบรรทุกดิน หรือเรือบาส มาทำการขุดลอกร่องน้ำบริเวณท้าเทียบเรือให้มีความลึกมากขึ้น โดยเอื้อประโยชน์กับเรือเฟอรรี่ รวมทั้งตลอดระยะเวลาการขุดเมื่อ 3 วันที่ผ่านมาชาวประมงกลุ่มเรือเล็กบ้านหัวดอน พบว่ามีการขุดตะกอนดินโคลน ใส่ลงเรือบาสของกรมเจ้าท่า และของผู้รับเหมา แล่นนำไปปล่อยทิ้งในทะเล ห่างชายฝั่งประมาณ2ไมล์ทะเลหรือประมาณ3.6กิโลเมตร
ชาวประมงหัวหินห่วงทะเลวิกฤติ!
ด้านนายสุเทพ ชูกำลัง ประธานกลุ่มประมงเรือเล็กบ้านหัวดอน และชาวประมงหัวหิน กล่าวว่า พวกเรากรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทะเล และเกิดความเสียหายต่อแหล่งหากินของสัตว์น้ำ รวมทั้งบริเวณชายฝั่งของอำเภอหัวหิน ซึ่งมีการวางปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล โดยการนำดินโตลนมาทิ้งในทะเล ทำให้เกิดน้ำขุ่น มีกลิ่นเหม็น ส่งผลเสียหายต่อการทำอาชีพประมงชายฝั่ง และในอนาคตตะกอนดินที่นำมาทิ้งเหล่านี้จะถูกคลื่นลมซัดเข้าชายหาดหัวดอน ชายหาดเขาตะเกียบ และชายหาดหัวหิน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อและจะส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพ ชายหาดเป็นสีดำ
ชาวประมงหัวหินห่วงทะเลวิกฤติ!
"จึงเรียกร้องไปยังอยากให้หน่วยงานเจ้าภาพหลักอย่างกรมเจ้าท่าให้ทบทวนการดำเนินการดังกล่าว และขอให้กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)จัดส่งนักวิชาการเข้ามาตรวจสอบว่าการดำเนินการในลักษณ์เช่นนี้ของกรมเจ้าท่านั้นส่งผลกระทบหรือไม่และบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทั้งแนวปะการังเทียมและแหล่งที่ชาวประมงพื้นบ้านออกวางอวนกุ้ง ปู และปลา โดยชาวประมงเชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวไม่น่าจะถูกต้องตามหลักวิชาการเนื่องจากกรมเจ้าท่าต้องใช้เวล่าขุดรอกร่องน้ำเป็นระยะเวลาถึง 48 วันและปริมาณดินโคลนที่ถูกขุดขึ้นมาและถูกนำไปทิ้งจะมีปริมาณมหาศาล"นายสุเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้กรมเจ้าท่าพบมีการขุดลอกร่องน้ำตั้งแต่ช่วงเช้า โดยกลุ่มชาวประมงเรือเล็กบ้านหัวดอน และสื่อมวลชนได้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ประจำเรือบรรทุกดินโคลนของกรมเจ้าท่า ไปติดตามการทำงานของเรือบาส ซึ่งก็พบว่าเมื่อมีการขุดดินโคลนลงเรือบรรทุกจนเกือบเต็มลำ เรือบรรทุกหรือเรือบาสได้แล่นเรือออกไปห่างชายฝั่งประมาณ 3 ไมล์ ทะเล จากนั้นได้ทำการเปิดไต้ท้องเรือปล่อยดินโคลนลงทะเล ซึ่งเมื่อมองจากท้ายเรือจะเห็นได้ชัดเจนว่า ขณะที่เรือปล่อยดินโคลนลงไป น้ำทะเลจะมีสีขุ่นเป็นทางยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ซึ่งชาวประมงเรือเล็กบ้านหัวดอน ระบุว่าต้องใช้เวลานานหลายเดือน กว่าสภาพน้ำจะกลับสู่ภาวะปรกติ ทำให้สัตว์ทะเลย้ายแหล่งที่อาศัย
นายสุเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะเดียวกันได้มีการสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าประจำเรือ ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า เป็นโครงการของรัฐบาล ที่ต้องการขุดลอกร่องน้ำให้ชาวประมง และ เพื่อให้เรือเฟอรรี่ โดยจะใช้ระยะเวลาขุดลอกจำนวน48วัน ส่วนเรื่องอื่นขอๆให้ไปสอบถามทางกรมเจ้าท่า ซึ่งตนเองและทุกคนถือเป็นผู้ปฏิบัติว่าให้นำดินโคลนไปทิ้งในทะเล
ด้านนายวินัย วรรณสุก ชาวประมงเรือเล็กบ้านหัวดอนกล่าวว่า แถวชายฝั่งบ้านหัวดอน และเขาตะเกียบ มีทั้งปะการังเทียม และซั้งเชือกที่ชาวประมงน้ำมาทิ้งไว้ หลายจุด โดยสภาพปกติทุกปีปะการังเทียมจะถูกคลื่นลมทับถมจมทรายลงไป หากมีการนำดินมาถมทะเลอีก ก็จะยิ่งทำให้ปะการังจมพื้นทะเลเร็วขึ้น ไม่มีแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ
"ซึ่งในแต่ละวันมีการบรรทุกดินที่ขุดลอกมาทิ้งหลายเที่ยวเที่ยวละกว่า 1,000 คิว ตลอดระยะเวลา 48 วัน ถือเป็นปริมาณมหาศาล รวมทั้งมีการทิ้งอยู่บริเวณเดียว ไม่ได้กระจายไป จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศไต้น้ำอย่างแน่นอน อยากให้มีการนำดินที่ขุดลอกไปหาจุดพักและนำไปทิ้ง หรือนำไปถมบนฝั่ง ณ จุดใดจุดหนึ่ง แม้ว่าวันนี้จะออกมาทิ้งห่างฝั่งกว่า 3 ไมล์ซึ่งเมื่อ3 วันที่ผ่านมาได้นำมาทิ้งห่างจากชายฝั่งที่ขุดลอร่องน้ำเพียง 1-2 ไมล์เท่านั้น และยังอยู่ห่างจากจุดที่ชาวประมงเรือเล็กอาศัยหาสัตว์น้ำ แต่ชาวประมงเองก็ยังมองว่าไม่เหมาะสมอยู่ดี หากยังมีการทิ้งดินจนน้ำขุ่นเช่นนี้ทุกคนต่างมีความเป็นห่วงระบบนิเวศไต้ท้องทะเลเป็นอย่างมาก อย่างให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง และตรวจสอบและขอให้เปิดเผยข้อมูลโครงการขุดรอกล่องน้ำดังกล่าวด้วย"นายวินัย กล่าว