"อัคราฯ" จี้สรุปผลศึกษา สวล.-สุขภาพเหมืองทอง (17 ก.พ. 60)
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2560
อัคราฯจี้สรุปผลศึกษาสวล.-สุขภาพเหมืองทอง
อัคราฯจี้ 7 โครงการรายงานเอกสารผลกระทบเหมืองทอง หลังเงินกองทุน EIA ทยอยจ่ายและอนุมัติในหลักการไปแล้วกว่า 50 ล้านบาท
นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวในฐานะคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต (กองทุน EIA) และกรรมการตรวจสอบด้านสุขภาพ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้มีความกังวลใจเรื่องการใช้เงินกองทุน EIA โครงการเหมืองแร่ทองคำ "ชาตรีเหนือ" ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้มีการพิจารณาอนุมัติไปแล้ว 2 โครงการเป็นเงิน 8 ล้านบาท และอนุมัติในหลักการไปแล้วอีก 5 โครงการ รวมทั้งหมด 7 โครงการ จำนวน 51.07 ล้านบาท จากจำนวนเงินกองทุนทั้งหมดที่มี 90 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัคราฯครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2560 ซึ่งมีนายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธาน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปผลการตรวจสอบได้ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขณะเดียวกันในส่วนของตัวแทนประชาชนรอบเหมืองทองที่อ้างว่าได้รับผลกระทบนั้น ได้เร่งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรวบรวมส่งรายงานการประชุมทุกครั้งที่ผ่านมาให้ทราบภายใน 7 วัน
สำหรับ 2 โครงการ ได้มีการอนุมัติให้ใช้เงินไปแล้ว 8 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกายประชาชนรอบเหมือง โดย ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต มหาวิทยาลัยรังสิต ใช้จ่ายไป 4.7 ล้านบาท ซึ่งโครงการเสร็จแล้ว
2.โครงการสำรวจตรวจสอบโอกาสการรั่วไหลของสารพิษจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 ของเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร โดย ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ใช้จ่ายไป 3.3 ล้านบาท โครงการแล้วเสร็จ ส่วนอีก 5 โครงการที่ได้มีการอนุมัติในหลักการไปแล้ว แต่รอรายละเอียดในการทำงานและใช้งบฯอีก 43.7 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร การศึกษาเปรียบเทียบกับพื้นที่อ้างอิง และการจัดทำระบบตรวจติดตามและเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย ดร.วิสาข์ สุพรรณ