เปิด 40 พื้นที่ขยะพิษภาคตะวันออก ปัญหา "อันตราย" ของคนไทย (15 พ.ค. 56)
ไทยพับลิก้า 15 พฤษภาคม 2556
เปิด 40 พื้นที่ขยะพิษภาคตะวันออก ปัญหา” อันตราย” ของคนไทย
รายงานโดย ดลวรรฒ สุนสุข
จากปัญหาการลอบทิ้งขยะอันตรายและกากอุตสาหกรรมที่มีข่าวออกมาอย่างต่อ เนื่องในพื้นที่ต่างๆ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยหลายพื้นที่กลายเป็นพื้นที่รองรับขยะอุตสาหกรรมทั้งๆที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมแต่อย่างใด
ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 กรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ร่วมกัน แถลงข่าวเพื่อ ร่วมกันแก้ปัญหาขยะพิษ โดยระบุว่ามีขยะอันตรายหายไปจากระบบไม่น้อยกว่า 31 ล้านตันต่อปี โดยไม่พบหลักฐานการนำกากอุตสาหกรรมไปบำบัดอย่างถูกต้องจากโรงงานบำบัดที่ได้ รับอนุญต
จากผลการลักลอบทิ้งขยะพิษดังกล่าว เกิดการรวมกลุ่ม “วาระเปลี่ยนตะวันออก” ซึ่งเครือข่ายเพื่อนตะวันออกได้รับร้องเรียนจากชาวบ้าน ขณะเดียวกันได้สำรวจพื้นที่ในภาคตะวันออกเบื้องต้นพบการลักลอบทิ้งขยะและกากอุตสาหกรรม มากกว่า 40 แห่ง แต่ละแห่งมีลักษณะการเอาเข้ามาทิ้งโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัดอย่างถูกวิธี
ต่อเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบการทิ้งขยะและกากอุตสาหกรรมทั้งหมด 4 รูปแบบใหญ่ๆ
รูปแบบที่ 1 การทิ้งน้ำเสียในบ่อลูกรัง
รูปแบบที่ 1 การทิ้งน้ำเสียในบ่อลูกรัง
รูปแบบนี้มีการลักลอบทิ้งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและโรงบำบัด โดยนำน้ำเสียไปทิ้งในบ่อลูกรังหรือแหล่งน้ำสาธารณะการทิ้งในลักษณะนี้จะมี การแผร่กระจายน้ำใต้ดินทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีใต้ดิน ส่งผลกรทบต่อระบบสาธารณูปโภค มีทั้งเจ้าของพื้นที่รับรู้และไม่รับรู้
รูปแบบที่ 2 การทิ้งกากอุตสาหกรรมในบ่อลูกรังและพื้นที่รกร้าง
รูปแบบที่ 2 การทิ้งกากอุตสาหกรรมในบ่อลูกรังและพื้นที่รกร้าง
รูปแบบการทิ้งในลักษณะนี้เป็นการนำขยะและกากของเสียอุตสาหกรรมมาทิ้งโดย ที่ไม่ผ่านการบำบัดอย่างถูกวิธี รูปแบบนี้มักจะมีการลักลอบทิ้งในพื้นที่รกร้างและบ่อลูกรัง ซึ่งตามวิธีการที่ถูกต้องแล้วต้องนำไปบำบัดและฝังกลบให้ถูกวิธี แต่ด้วยการมักง่ายของขบวนการลักลอบทิ้งก็จะนำมาทิ้งในพื้นที่ลักษณะดังกล่าว ลักษณะการลักลอบทิ้งดังกล่าว มีทั้งเจ้าของพื้นที่รับรู้และไม่รับรู้
รูปแบบที่ 3 การทิ้งในพื้นที่โรงงาน และโรงบำบัดที่ไม่ได้คุณภาพ
รูปแบบที่ 3 การทิ้งในพื้นที่โรงงาน และโรงบำบัดที่ไม่ได้คุณภาพ
ในลักษณะนี้เป็นการทิ้งในพื้นที่ของโรงงานหรือโรงบำบัด ไม่ผ่านกระบวนการบำบัดที่ถูกต้องกรณีที่พบการลักลอบทิ้งในลักษณะนี้เป็นการ นำของเสียออกมาทิ้งโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัดนำไปฝังกลบไม่ถูกวิธี และอีกหนึ่งกรณีคือ โรงงานบำบัดและรีไซเคิลของเสีย นำส่วนที่ไม่ใช้แล้วมาทิ้งโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัดอย่างถูกวิธี
รูปแบบที่ 4 การลักลอบทิ้งในพื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ ในรูปแบบนี้จะมีการลักลอบทิ้งสารเคมีมีประเภทน้ำลงแหล่งน้ำลำธารสาธารณะ ซึ่งผลที่มาทำให้เกิดการการเสียหายแก่ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เกิดการสะสมสารพิษในธรรมชาติ ซึ่งในการสืบสวนหาผู้รับผิดชอบยาก
รูปแบบที่ 4 การลักลอบทิ้งในพื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ
ในรูปแบบการลักลอบทิ้งขยะและกากอุตสาหกรรมทั้งหมด มีทั้งคนในพื้นที่รู้เห็นและไม่รู้เห็น ขบวนการลักลอบทิ้งจะใช้ช่องว่างในช่วงเวลาที่ปลอดคนขโมยไปทิ้งในพื้นที่ ซึ้งพื้นที่เป้าหมายที่สำคัญคือพื้นที่เป็นบ่อลูกรังหรือพื้นที่ที่ตักหน้า ดินไปขาย
แต่บางกรณีในภาคตะวันออกมีการลักลอบทิ้งในพื้นที่ส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของ พื้นที่รู้เห็นในการทิ้งในส่วนนี้ ถ้าเจ้าของพื้นที่รู้เห็นในการลักลอบทิ้งขยะและกากอุตสาหกรรมอันตราย มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 23 ฐานครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงาน บทลงโทษ มาตรา 73 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
โรงงานที่มีส่วนร่วมในการลักลอบทิ้งขยะและกากอุตสาหกรรม มีฐานความผิดตาม พ.ร.บ. กรมโรงงาน มาตรา 8(5)ฐานนำสิ่งฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงานโดยมิได้รับอนุญาต(ผู้ ก่อกำเนิดของเสีย) บทลงโทษ มาตรา 45 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท
สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกำจัดกากอุตสาหกรรม จากกรมโรงงานและอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประเภท101 โรงงานปรับคุณภาพของเสีย ประเภท 105โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วประเภท 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของ เสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิต ทางอุตสาหกรรม
(ติดตามรายละเอียดแต่ละพื้นที่ตอนต่อไป)
พื้นที่พบการลักลอบทิ้งขยะและกากอุตสาหกรรม |
จากข้อมูลจาก “วาระเปลี่ยนตะวันออก” เพื่อนตะวันออก พบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกและจังหวัดใกล้เคียง กว่า 40 แห่ง แต่ละแห่งพบลักษณะการลักลอบทิ้งแตกต่างกันตามที่กล่าวข้างต้น นอกเหนือจากนี้กลุ่ม “วาระเปลี่ยนตะวันออก” คาดการณ์ว่า ยังมีจุดที่ไม่ได้ค้นพบอีกหลายแห่งในภาคตะวันออก จังหวัดระยอง-อำเภอปลวกแดง 2 แห่งอำเภอบ้านค่าย1 แห่ง จังหวัดชลบุรี – อำเภอเมือง 4 แห่งอำเภอบ่อวิน 1 แห่ง อำเภอหนองใหญ่ 1 แห่ง อำเภอพานทอง 3แห่ง อำเภอพนัสนิคม 4 แห่ง อำเภอเกาะจันทร์ 1 แห่ง จังหวัดสมุทรปราการ – อำเภอเมือง 2 แห่ง อำเภอบางปะกง 2 แห่ง อำเภอบางบ่อ 2 แห่ง ฉะเชิงเทรา – อำเภอบ้านโพธิ์ 2 แห่ง อำเภอพนมสารคาม 13 แห่ง จังหวัดปราจีนบุรี – อำเภอเมือง 1 แห่ง กรุงเทพมหานคร – เขตลาดกระบัง 1 แห่ง |