ถอดสมการข่าว EP.12 พบสารปนเปื้อน 10 กว่าปี ... ขอปิดโรงงานไม่ได้ เพราะ “พิสูจน์ไม่ได้" ว่าน้ำเสียมาจากโรงงาน ?? (10 พ.ย. 59)

PPTV 10 พฤศจิกายน 2559
ถอดสมการข่าว EP.12 พบสารปนเปื้อน 10 กว่าปี ... ขอปิดโรงงานไม่ได้ เพราะ “พิสูจน์ไม่ได้" ว่าน้ำเสียมาจากโรงงาน ??

โดย สถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา

ช่วงตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา PPTV ติดตามข่าวอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งผมว่า น่าสนใจมาก และอยู่ในความสนใจของสังคมน้อยกว้าที่ควรจะเป็น ทั้งที่ข่าวชิ้นนี้ ไม่ต่างจากหายนะการตายของปลากระเบนที่แม่น้ำแม่กลองเลย

ที่ ต.น้ำพุ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ถนนสาย 6 เส้นทางเชื่อมระหว่าง ต.รางบัว กับ ต.น้ำพุ ถูกน้ำท่วมขังมานานนับเดือนยาวกว่า 80 เมตร ดูเผินๆเหมือนน้ำท่วมธรรมดา แต่น้ำท่วมถนนแค่ 80 เมตรนี้ กลับบานปลายไปถึงการรวมตัวต่อต้านจากชาวบ้าน ... ต่อต้าน โรงงาน ที่ตั้งอยู่ตรงนั้น

นี่เป็นปีแรก ที่น้ำท่วมถนนสายนี้ และอย่างที่บอกไป ท่วมมาแล้วนับเดือน .... ชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า น้ำท่วม เกิดขึ้นหลัง โรงงานรีไซเคิล ที่ชื่อว่า บ.แว็กซ์ กาเบจ รีไซเคิล เซนเตอร์ ก่อสร้างบ่อฝังกลบขยะขึ้นใหม่เมื่อปีที่แล้ว โดยขยายพื้นที่จากบ่อฝังกลบเดิม ชาวบ้านจึงกล่าวหาว่า บ่อที่สร้างขึ้นใหม่ ขวางเส้นทางไหลของน้ำ เพราะสร้างทับทางระบายน้ำ

หน่วยงานในพื้นที่พยายามเข้ามาแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่นั่นยิ่งกลายเป็นชนวนความขัดแย้งมากขึ้น เมื่อไม่สามารถเข้าไปเปิดทางระบายน้ำในโรงงานได้เพราะเป็นที่ดินเอกชน มีเอกสารสิทธิและโรงงานไม่ยินยอม ทำให้ต้องไปขุดทางระบายน้ำด้านนอก ในที่ดินของชาวบ้าน และชาวบ้านไม่ยินยอมเช่นกัน จนเอากระสอบทรายมากั้นน้ำเอง

ทำไม ชาวบ้านไม่ยินยอม ... แค่การขุดร่องน้ำ

เรื่องที่ใหญ่กว่า “น้ำท่วม” จึงปรากฏขึ้น ....

สาเหตุที่ชาวบ้านบริเวณนั้น ไม่ยินยอมให้ขุดร่องน้ำผ่านบ้านของพวกเขากลับไม่ใช่ปัญหาเรื่องปริมาณน้ำ แต่เป็นเพราะความกังวลเรื่อง “คุณภาพน้ำ”

บ.แว็กซ์ กาเบจ รีไซเคิล เซนเตอร์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2543 ในชื่ออื่น โดยประกอบกิจการสีทาบ้าน อัดกเศษกระดาษ อัดเม็ดพลาสติก ซ่อมถังน้ำมัน และขอใบอนุญาตประกอบกิจการด้านอื่นๆเพิ่มมาเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นโรงงานรีไซเคิลในปัจจุบัน

และตลอด 15 ปี ที่ผ่านมา โรงงานแห่งนี้ ถูกร้องเรียนมาแล้วหลายครั้ง เกี่ยวกับ การปล่อยกากของเสียออกมาปนเปื้อนในน้ำและดิน แหล่งน้ำใต้ดิน เช่น

13 พ.ย. 44 กรมควบคุมมลพิษ ตรวจสอบข่อร้องเรียนของประชาชน สรุปว่า โรงงานประกอบกิจการขดกับ พรบ.สาธารณสุข และการอนุญาตโรงงานรีไซเคิลซึ่งมีการใช้สารเคมี มีบ่อบำบัดน้ำเสีย และหลุมฝังกลบขยะ ติดกับแหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีความเสี่ยงอยากมาก ที่จะส่งผลกระทบ

โดย 19 พ.ย. 44 กรมควบคุมมลพิษ ขอความร่วมมือจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ อบต.รางบัว ให้อาศัยอำนาจตามกฎหมายดำเนินการกับโรงงานแห่งนี้

28 ธ.ค. 44 รองผู้ว่าฯ ราชบุรี ได้รับร้องเรียนว่า บริษัทนี้ ปล่อยของเสียลงสู่ห้วยน้ำพุ มีกลิ่น มีฟอง ประชาชนมีอาการผื่นคั่น ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารธะ โดยมอบให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 ไปดำเนินการ

22 ม.ค. 45 สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 4 รายงานผลตรวจสอบไม่พบเศษขยะสารเคมมีและไม่พบน้ำเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ แต่มีกลิ่นเหม็น พร้อมเสนอข้อคิดเห็น ให้ตรวจสอบกากของเสียในโรงงาน ว่าเป็นกากอุตสาหกรรม หรือ วัตถุอันตรายหรือไม่ และต้องขออนุญาตเพิ่มเติมประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  รวมทั้งตรวจสอบโครงสร้างโรงงานใหมีระบบกำจัดของเสียที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่วนอำเภอจอมบึง

เรื่องครั้งนั้น ไปถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งสั่งกลับมาที่กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม

จนวันที่ 1 มี.ค. 45 กรมโรงงานฯ แจ้งชาวบ้านว่า ได้สั่งให้โรงงานปรับปรุงแก้ไขแล้ว

ในปี 2546 เปลี่ยนชื่อบริษัท มาเป็น บ.แว็กซ์ กาเบจ รีไซเคิล เซนเตอร์ และขยายใบอนุญาตทำโรงงานประเภท 106 หรือ โรงงานรีไซเคิล จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว มาเป็นเคมีภัณฑ์ ...

ใบอนุญาตนี้ มีประชาชน 600 คน ลงชื่อคัดค้านการขออนุญาตขยายกิจการ เมื่อ 28 ก.พ. 46 ขอให้ อบต.รางบัว ยกเลิกใบอนุญาตการกำจัดขยะชุมชนของโรงงานด้วย

วันเดียวกัน อบต.รางบัว แจ้ต่อบริษัท ขอระงับการต่อใบอนุญาตชั่วคราว และใช้อำนาจท้องถิ่น สั่งให้หยุดใช้ใบอนุญาต

อีก 2 เดือน ต่อมา ... กระทรวงอุตสาหกรรม ออกใบอนุญาตใหม่ให้ เป็นโรงงานประเภท 106 เหมือนเดิม คือ โรงงานรีไซเคิล แต่เปลี่ยนเป็น แยกสกัดโลหะมีค่า แยกโลหะและพลาสติกออกจากอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์

นั่นเป็นเรื่องราว เมื่อ 13-15 ปีก่อน

หลังจากนั้น โรงงานแห่งนี้ ถูกสั่งปิดปรับปรุงอีกหลายครั้ง

พื้นดินโดยรอบ แหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำชาวบ้าน ถูกตรวจพบการปนเปื้อนสารพิษมาโดยตลอด เช่นเดียวกับผลตรวจในโรงงาน

วันจันทร์ที่ 10 พ.ย. 59 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตามที่นัดหมายไว้กับชาวบ้าน หลังรองผู้ว่าฯ ราชบุรี เลือกใช้วิธีระบายน้ำท่วมถนน ด้วยการใช้เครื่องสูบน้ำลงไปยังลำห้วยน้ำพุ ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลอง ในเวลาเดียวกับที่ชาวบ้านกังวลว่าน้ำจะปนเปื้อนสารพิษ

ชาวบ้านร้องขอ ... ให้ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมสั่งปิดโรงงาน โดยอ้างผลตรวจพบสารเคมีปนเปื้อนพื้นที่โดยรอบหลายครั้ง ... ปิดโรงงานแล้วหลายครั้ง แต่ไม่ดีขึ้น

คำตอบที่ได้จาก “อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม” คือ .. พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงว่า การปนเปื้อน มีทิศทางการไหลของน้ำ มาจากโรงงาน

 

และนี่คือ เอกสาร รายงานของกนมควบคุมมลพิษ ที่บอกว่า ไม่เชื่อมโยง ... เชิญพิจารณา เป็นเอกสารที่กรมควบคุมมลพิษส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 นี่คือฉบับที่ชาวบ้านก็มี

แต่ที่น่าสนใจ คือ คำตอบของอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ... ไม่ได้มาจากเอกสารฉบับนี้ 

แต่มีเอกสารอีกฉบับ ที่ส่งมาจากกรมควบคุมมลพิษ ... เป็นเอกสาร ฉบับที่ชาวบ้านไม่มี 

เป็นผลการตรวจสอบ เดือน "ตุลาคม 2559"

อ้าว ... เขียนไม่เหมือนกัน รายงานไม่เหมือนกัน 

ในเอกสารเดือนตุลาคม กลับไม่ยืนยันว่าการปนเปื้อนมาจากโรงงาน ... กรมโรงงานอุตสาหกรรม ก็เลยยึดตามเอกสารฉบับนี้

 

เหมือนเรื่องตลก ... แต่ไม่ตลก เอกสารจากหน่วยงานเดียวกัน เนื้อหากลับไปคนละทาง ... คำถาม คือ ทำไม กรมควบคุมมลพิษ ตอบเช่นนี้ 

บอกได้เพียงว่า เมื่อกรมควบคุมมลพิษ บอกว่า ยืนยันการปนเปื้อน ในเดือนสิงหาคม 2559 แล้ว .. ผลที่ตามมาก็คือ ...

หน้าที่จัดการโรงงาน แก้ปัญหาในโรงงาน ... เป็นของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

แต่หน้าที่จัดการการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมนอกเขตโรงงาน เป็นของ "กรมควบคุมมลพิษ" 

 

แล้วผลการตรวจของกรมควบคุมมลพิษ ก็เปลี่ยนไปดื้อๆ ???

ขอแสดงความนับถือ .. ท่านกล้าหาญจริงๆ