"มินามะตะ" บทเรียนมลพิษอุตสาหกรรม สู่อนุสัญญาสารปรอท (คลิป) (10 ก.ย. 59)

PPTV 10 กันยายน 2559
"มินามะตะ" บทเรียนมลพิษอุตสาหกรรม สู่อนุสัญญาสารปรอท (คลิป)

ครบรอบ 60 ปี การค้นพบโรคมินามาตะ ที่มีสาเหตุมาจากมลพิษทางอุตสาหกรรม กลุ่มเครือข่ายประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมจัดเสวนาถอดบทเรียนมลพิษทางอุตสาหกรรม พร้อมแถลงจุดยืนเรียกร้องภาครัฐมีมาตรการป้องกันสังคมและสิ่งแวดล้อมไทยจากปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม

ระบบควบคุมการเคลื่อนไหวเช่น การเดิน พูด และหยิบจับสิ่งของที่ค่อนข้างยากลำบาก ของนางชิโนบุ ซาคาโมโต หนึ่งในผู้ป่วยโรคมินามาตะแต่กำเนิดนี้ สะท้อนถึงผู้ป่วยที่ได้รับกระทบจากมลพิษทางอุตสาหกรรม เมื่อเขาได้รับสารปรอทเข้าสู่ร่างกายและทำลายระบบประสาทส่วนกลางตั้งแต่เด็ก จากโรงงานอุสาหกรรมปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารปรอทลงสู่อ่าว โดยไม่มีการบำบัด เมื่อสารสะสมอยู่ในสัตว์ทะเล และจับขึ้นมารับประทานจึงส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง

ทางหน่วยงานสิ่งแวดล้อมภาคประชาชนก็ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นำบทเรียนโรคมินามาตะ มาเป็นบทเรียน ให้ภาครัฐหันมาเร่งบริหารจัดการภาคอุตสหกรรมของไทยให้มีมาตรฐาน และได้รับการยอมรับทั้งจากชุมชน และ มีความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือนโรคมินามะตะของประเทศญี่ปุ่นที่เกิดขึ้น

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุถึงมลพิษทางอุตสาหกรรมของไทยเกี่ยวกับการปล่อยสารปรอท พบว่า มีการปล่อยประมาณ 3 หมื่นกิโลกรัมต่อปี โดยระบุยังเป็นไปตามมาตรฐานทางกฏหมาย กรมควบคุมมลพิษได้เข้าตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการเข้าร่วมในอนุสัญญามินามาตะ หรือสารปรอท เพื่อควบคุมการใช้ ปล่อยสารปรอท ขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งคณะอนุกรรมพิจารณา หากอนุกรรมการเห็นว่าเหมาะสมอาจนำไปบังคับใช้เป็นกฏหมาย