ต่อสัมปทานเอราวัณ-บงกช ต้องเสร็จทันรัฐบาลชุดนี้ (7 ส.ค. 59)
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 7 สิงหาคม 2559
ต่อสัมปทานเอราวัณ-บงกช ต้องเสร็จทันรัฐบาลชุดนี้
การคาดการณ์ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ว่า หากไม่มีการขุดเจาะสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในประเทศเพิ่ม อาจส่งผลให้มีก๊าซจากอ่าวไทยเหลือใช้ได้ไม่เกิน 7 ปีนั้น ประเด็นนี้จี้ติดไล่หลังกระทรวงพลังงานให้ต้องเร่งดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ 1) การต่ออายุสัญญาสัมปทานในแหล่งเอราวัณ ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และแหล่งบงกช ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ที่จะหมดอายุในอีก 5 ปีข้างหน้า และ 2) การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงความคืบหน้าว่าต้องเร่งดำเนินการต่ออายุสัญญาแหล่งเอราวัณและบงกช เพื่อสร้างความชัดเจนและความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการไม่ให้ลดกำลังผลิต จากปกติที่ 2,100 ลูกบาศก์ฟุต/วัน
ความชัดเจนที่ว่า คือ การแก้ไขพระราชบัญญัตปิโตรเลียม และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม นายอารีพงศ์ระบุว่า นอกจากจะมีรูปแบบสัมปทานที่ใช้ในปัจจุบัน ยังเพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC (Production Sharing Contract) และระบบจ้างผลิต (Service Contract) ไว้ใน พ.ร.บ.ด้วย โดยเฉพาะในส่วนของระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นปัจจุบันมีประเทศมาเลเซียที่ใช้ระบบ นี้ รวมถึงแหล่งพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย หรือ JDA ส่วนรูปแบบสัญญาจ้างผลิต พบว่าทั่วโลกมีการใช้น้อยมาก ส่วนความคืบหน้าของการแก้ไข พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีการรับในหลักการเบื้องต้นแล้ว และ สนช.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จใน 60 วัน (24 มิ.ย.-23 ส.ค. 59 นี้) ซึ่ง สนช.ได้เชิญกลุ่มต่าง ๆ เข้ามารับฟังความเห็น รวมถึงให้กรมเชื้อเพลิงฯชี้แจงเพิ่มเติมและหารือกับกรมสรรพากรในประเด็นภาษี ปิโตรเลียม ซึ่งกรมสรรพากรรับข้อเสนอหลักการของ สนช.และเมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา สนช.ได้เชิญภาคประชาชนให้ข้อมูลเพิ่มเติม
นอกจากต้อง แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมแล้ว ยังต้องยกร่างกฎหมายอีก 6 ฉบับ กับ 1 ประกาศ รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเปิดประมูล ประเมินทรัพย์สินที่มีการติดตั้งและการรื้อถอนในพื้นที่ทั้ง 2 แหล่ง โดยให้คนกลางเข้ามาประเมิน คาดว่ามูลค่าการรื้อถอนจะอยู่ที่ 9,000 ล้านบาท ซึ่ง ก.พลังงานมองว่ารายละเอียดจะต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้ก่อนที่จะมีการเปิด ประมูล ที่สำคัญทั้งหมดจะต้องแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้
เมื่อลอง เปรียบเทียบแหล่งผลิตปิโตรเลียมอื่น ๆ ทั่วโลกในการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชน อย่างเช่น แหล่ง JDA อยู่ที่สัดส่วน 58 : 42 ในขณะที่เงื่อนไขของ Thailand 1 อยู่ที่ 54 : 46 ส่วน Thailand 3 อยู่ที่ 71 : 29 เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะใช้ระบบใดก็ตามผลประโยชน์ที่ภาครัฐควรจะได้ไม่ได้น้อยลง ความสำคัญอยู่ตรงที่ภาครัฐจะวางกฎเกณฑ์อย่างไร ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระบบ นอกจากข้อมูลในแง่ผลประโยชน์แล้ว ก.พลังงานยังได้ศึกษาไปจนถึงว่า การต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมจากประเทศทั่วโลกจาก 50,000 กรณี พบว่าร้อยละ 90 มีการต่ออายุสัญญาสัมปทาน และร้อยละ 74 ใช้ระบบสัญญาเดิม โดยให้เหตุผลว่า การให้รายเดิมเป็นผู้ผลิตต่อนั้นเพราะว่ามีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ หากให้รายใหม่เข้าไปดำเนินการอาจต้องใช้เวลาในการขุดเจาะเพราะไม่ชำนาญ อาจส่งผลให้การผลิตในช่วงเริ่มต้นลดลง
นอกจากนี้ เมื่อสำรวจทั่วโลกจะพบว่ามีการใช้ระบบสัมปทานอยู่รวม 31 ประเทศ ระบบแบ่งปันผลผลิต 19 ประเทศ ระบบจ้างผลิต 10 ประเทศ เท่ากับว่าส่วนใหญ่ใช้ระบบสัมปทานมากที่สุด เมื่อมาดูสภาพของการขุดเจาะสำรวจและผลิตพื้นที่อ่าวไทยในปัจจุบันตั้งแต่ ช่วงปีཱི-58 นั้น พบว่าจำนวนหลุมเจาะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เพื่อรักษาระดับการผลิตไว้ที่ 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในปีཱི มีการเจาะหลุมรวม 250 หลุม ในปีུ รวม 280 หลุม ปีཱུ รวม 400 หลุม และในปีྲྀ รวม 478 หลุม ชี้ให้เห็นว่าการผลิตปิโตรเลียมยากขึ้น และต้นทุนก็สูงขึ้นเช่นกัน
สำหรับประเด็นผลประโยชน์เข้ารัฐนั้น นายอารีพงศ์ยกตัวอย่างแหล่ง JDA พบว่าในปีྲྀ ส่งรายได้เข้ารัฐในรูปของค่าภาคหลวง 158,900 ล้านบาท ส่วนปีུ มีรายได้เข้ารัฐ 207,500 ล้านบาท (ยังไม่รวมภาษีอื่น ๆ เช่น สรรพสามิต) ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพลังงานให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า การแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียมครั้งนี้ ยังไม่ได้พิจารณาถึงการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ หรือ NOC (National Oil Company) เนื่องจากมองว่ารัฐบาลมี ก.พลังงานเป็นกลไกหลักอยู่แล้ว หากต้องตั้ง NOC จะต้องดำเนินการรื้ออำนาจจากกฎหมายที่มีอยู่กว่า 10 ฉบับใหม่ ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน โดย ก.พลังงานยืนยันว่าคณะกรรมการปิโตรเลียมที่มาจากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย จะต้องพิจารณาแนวทางที่ทำให้การต่ออายุสัมปทานเกิดผลกระทบน้อยที่สุด