เปิดรายงานคุณภาพน้ำมาบตาพุด 2 (31 ม.ค. 55)

ไทยพับลิก้า 31 มกราคม 2555
เปิดรายงานคุณภาพน้ำมาบตาพุด–พื้นที่ควบคุมมลพิษ จ.ระยอง (2)
…สารพิษปนเปื้อนทั้งในดิน–น้ำใต้ดิน–สัตว์น้ำ

31 มกราคม 2012

ปัญหามลพิษในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและจังหวัดระยองยังเป็นเรื่องที่ต้อง ติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งสำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ “รายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำและการดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำในเขตควบคุม มลพิษจังหวัดระยอง ประจำปี 2553” โดยสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้านำเสนอเรื่องนี้้ผ่านซี่รี่ส์ “บทเรียนจากมาบตาพุด”

ต้นเหตุมลพิษ–โรงงานอุตสาหกรรม

จากปัญหาดังกล่าว หากย้อนกลับไปดูแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำตามที่ในรายงานได้แยกแยะที่มา หากพิจารณาจากโรงงานอุตสาหกรรมในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง อันมีจำนวนทั้งสิ้น 480 โรง พบว่าเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำที่สำคัญในพื้นที่ เนื่องจากมีโรงงานหลายประเภท ส่งผลให้มีการระบายมลพิษทางน้ำลงสู่แม่น้ำสาธารณะจำนวนมาก (อ่าน “เปิดรายงานคุณภาพน้ำมาบตาพุด-พื้นที่ควบคุมมลพิษ จ.ระยอง (1) …ปนเปื้อนทั้งสารหนู เหล็ก แมงกานีส ห้ามบริโภค!!” )

สำหรับจำนวนโรงงานทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยแยกเป็นรายตำบลในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยองในปี 2553 พบว่า พื้นที่มาบตาพุดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่ตำบลห้วยโป่ง

โดยโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณน้ำทิ้งรวมกว่า 87,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (ลบ.ม.ต่อวัน) เป็นน้ำทิ้งจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดปริมาณมากสุดกว่า 45,800 ลบ.ม.ต่อวัน (ไม่รวมน้ำระบายความร้อน) และน้ำทิ้งกว่าร้อยละ 90 เป็นน้ำทิ้งระบายลงสู่คลองซากหมาก ซึ่งเป็นคลองระบายน้ำที่ไหลผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ส่วนโรงงานที่อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรม พบว่ามี 349 โรง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลมาบข่า มีปริมาณน้ำทิ้งรวม 65,452.8 ลบ.ม.ต่อวัน (ไม่นับรวมน้ำระบายความร้อน) และมีความสกปรกในรูปของบีโอดี เท่ากับ 3,161.7 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

ทั้งนี้ หากแบ่งจำนวนโรงงานและปริมาณความสกปรกในรูปของบีโอดีตามตำบล พบว่าพื้นที่ตำบลมาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณมลพิษทางน้ำจากโรงงาน อุตสาหกรรมสูงที่สุด แต่ตำบลทับมาเป็นตำบลที่มีปริมาณน้ำทิ้งจากโรงงานสูงที่สุด (25,229 ลบ.ม.ต่อวัน)

ต้นเหตุมลพิษ–ชุมชน

สำหรับ ชุมชนในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง ประกอบด้วย เทศบาล 8 แห่ง และชุมชนต่างๆ กว่า 67 ชุมชน มีจำนวนประชากร 130,498 คน เมื่อนำจำนวนคนมาคำนวณปริมาณน้ำเสียจะได้ประมาณ 19,739 ลบ.ม.ต่อวัน โดยมีความสกปรก 2,388 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน มีรายละเอียดรายเทศบาลดังนี้

1. เทศบาลนครระยอง มี 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนทุ่งโตนดและชุมชนเนินพระ มีจำนวน 6,522 ครัวเรือน มีประชากร 8,399 คน (ณ มกราคม 2554) มีปริมาณน้ำเสีย 1,270 ลบ.ม.ต่อวัน และปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดี 153 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

2. เทศบาลตำบลเนินพระ มี 7 ชุมชน มีประชากร 13,602 คน (ณ กันยายน 2553) คิดเป็นปริมาณน้ำเสียประมาณ 2,057 ลบ.ม.ต่อวัน และปริมาณน้ำสกปรก 249 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

3. เทศบาลเมืองมาบตาพุด มี 33 ชุมชน ได้แก่ชุมชนมาบข่า-สำนักอ้ายงอน, ชุมชนบ้านพลง, ชุมชนมาบตาพุด, ชุมชนมาบยา, ชุมชนอิสลาม, ชุมชนบ้านบน, ชุมชนบ้านล่าง, ชุมชนมาบข่า-มาบใน, ชุมชนเนินพะยอม, ชุมชนหนองแฟบ, ชุมชนโขดหิน, ชุมชนเกาะกก-หนองแตงเม, ชุมชนคลองน้ำหู, ชุมชนกรอกยายชา, ชุมชนวัดโสภณ, ชุมชนหนองเย็น, ชุมชนซอยร่วมพัฒนา, ชุมชนสำนักกะบาก, ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่, ชุมชนเขาไผ่, ชุมชนหนองบัวแดง, ชุมชนซอยประปา, ชุมชนตลาดห้วยโป่ง, ชุมชนมาบชลูด, ชุมชนห้วยโป่งใน 1, ชุมชนห้วยโป่งใน 2, ชุมชนห้วยโป่งใน-สะพานน้ำท่วม, ชุมชนหนองหวายโสม, ชุมชนชากลูกหญ้า, ชุมชนซอยคีรี, ชุมชนตลาดมาบตาพุด, ชุมชนเจริญพัฒนา, ชุมชนเกาะกก รวมชุมชนทั้งหมดมีครัวเรือนทั้งสิ้น 27,317 ครัวเรือน มีประชากร 49,261 คน (ณ เดือนมกราคม 2553) มีปริมาณน้ำเสียประมาณ 7,451 ลูกบาศก์เมตร และปริมาณความสกปรก 901 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

4. เทศบาลตำบลบ้านฉาง มี 6 ชุมชน มีจำนวน 5,519 ครัวเรือน มีประชากร 9,352 คน (ณ กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำเสียประมาณ 1,414 ลบ.ม.ต่อวัน และปริมาณความสกปรก 171 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

5. เทศบาลเมืองบ้านฉาง มี 2 ชุมชน มีจำนวน 5,990 ครัวเรือน มีประชากร 24,533 คน (ณ กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำเสียประมาณ 3,710 ลบ.ม.ต่อวัน และปริมาณความสกปรก 449 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

6. เทศบาลตำบลทับมา มี 8 ชุมชน ประชากร 18,280 คน (ณ กันยายน 2553) ปริมาณน้ำเสียประมาณ 2,765 ลบ.ม.ต่อวัน ปริมาณความสกปรก 335 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

7. เทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา มี 8 ชุมชน มีจำนวน 1,617 ครัวเรือน ประชากร 5,794 คน (ณ กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำเสียประมาณ 876 ลบ.ม.ต่อวัน และปริมาณน้ำสกปรก 106 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

8. เทศบาลตำบาลมาบข่า มีประชากร 1,277 คน(ณ กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำเสีย 193 ลบ.ม.ต่อวัน ปริมาณน้ำสกปรก 23 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

จากทั้ง 8 พื้นที่ข้างต้น พบว่ามีปริมาณน้ำเสียจากชุมชน 19,739 ลบ.ม.ต่อวัน มีความสกปรก 2,388 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน

ต้นเหตุมลพิษ-เกษตรกรรม

ส่วนน้ำเสียจากกิจกรรมการเกษตรในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง มีปัญหาค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำเสียจาก ชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกไม้ผลและพืชไร่ เช่น มังคุด ทุเรียน มะม่วง เงาะ มันสำปะหลัง และสับปะรด

จากรายงาน ระบุว่า ปริมาณน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดที่มีจุดปล่อยแน่นอนในเขตควบคุมมลพิษจังหวัด ระยองมีปริมาณกว่า 184,500 ลบ.ม.ต่อวัน มาจากโรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 82 มาจากชุมชนร้อยละ 18 และมีปริมาณน้ำที่มีความสกปรก 9,412.45 กิโลกรัมบีโอดีต่อวัน ซึ่งกว่าร้อยละ 61 มาจากแหล่งกำเนิดประเภทชุมชน และอีกร้อยละ 39 มาจากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรม

แนวทางแก้ปัญหาการปนเปื้อนมลพิษ–อ่าวประดู่ อาหารทะเลมีความเสี่ยง

1. ปัญหาการสะสมตัวของตะกอนดินปากคลองซากหมาก ซึ่งมีการตรวจพบการสะสมตัวของตะกอนดินสีดำ ที่มีกลิ่นเหม็นผิดปกติในบริเวณปากคลองระบายน้ำนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (คลองซากหมาก) เป็นคลองที่ไหลผ่านพื้นที่ชุมชนบริเวณต้นคลอง (เรียกว่าคลองน้ำดำ) และไหลผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก่อนจะไหลลงทะเล โดยพบการสะสมตัวดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ทำให้ทะเลในอ่าวประดู่มีลักษณะเป็นชั้นสี โดยมีสีคล้ำสลับกับสีอ่อน จากการประเมินด้วยภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าตะกอนดังกล่าวครอบคลุมบริเวณกว้างออกไปจากปากคลองซากหมากจนถึงเกาะ เสม็ด เป็นพื้นที่ประมาณ 3.25 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาตรเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลระหว่าง 186,000 ถึง 473,000 ลบ.ม.

ในรายงานระบุว่า สาเหตุการเกิดตะกอนน่าจะมาจากการถมทะเลตามโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 2 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลเปิดตามปกติ จากผลการตรวจวิเคราะห์ตะกอนดินดังกล่าวพบว่า มีปริมาณออร์แกนิกคาร์บอน ปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก เช่น สารหนู สังกะสี และปรอท ปนเปื้อนมีค่าเกินกว่าระดับมาตรฐาน และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ


ชาว บ้านชุมชนตากวน-อ่าวประดู่ เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง 
แจ้งว่ามีปลาตายจำนวนมากในคลองห้วยใหญ่ เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2553 
ที่มาภาพ:  http://www.matichon.co.th/online/2010/11/12894621971289462239l.jpg

เนื่องจากพื้นที่อ่าวประดู่มีการทำประมงจับปลาและเลี้ยงหอย ตะกอนดินดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนใน พื้นที่และมีผลต่อระบบนิเวศ การดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่อ่าวประดู่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งกำหนดมาตรการระยะสั้นด้วยวิธีการขุดลอกและนำดินตะกอนที่ขุดไปจัดการ ให้ถูกต้อง ส่วนมาตรการระยะยาว จะมีการจัดการทำฝายตกตะกอน การนำน้ำทิ้งกลับไปใช้ และการทำท่อลอดในทะเลจากคลองซากหมากควบคู่ไปกับการฟื้นฟูในปี 2555 เช่น การกำหนดระยะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงหอยแมลงภู่ การติดตั้งระบบกั้นน้ำในคลองซากหมาก หรือการจัดทำแผนฉุกเฉินโรงงานเพื่อป้องกันปัญหาสารเคมีรั่วไหลลงสู่คลองซาก หมาก รวมทั้งดำเนินการหาที่มาของการปนเปื้อนสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในตะกอนดิน ที่สะสมในอ่าวประดู่ ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบจากกรณีน้ำเสียรั่วไหลลงสู่คลองซากหมาก อันทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการประมงในพื้นที่

2. การปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยง่ายในดินและน้ำใต้ดิน พบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำใต้ดิน ได้แก่ สารหนู เหล็ก แมงกานีส สังกะสี และตะกั่ว เกินกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำใต้ดินคิดเป็นร้อยละ 49 และพบว่า มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ระเหยง่ายหลายชนิด เช่น 1,2-ไดคลอโรอีเทน ไดคลอโรมีเทน เบนซีน และไวนิลคลอไรด์ เกินกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำใต้ดินคิดเป็นร้อยละ 17.7 ของบ่อน้ำใต้ดินทั้งหมดที่ดำเนินการตรวจวัด ทั้งยังพบว่า มีไอสารอินทรีย์ระเหยง่ายในดินอยู่ในระดับสูงภายในโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน หนึ่ง โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ที่พบการปนเปื้อนจัดทำรายงานประเมินความ เสี่ยง เพื่อหามาตรการฟื้นฟู รวมทั้งจะมีการตรวจสอบการปนเปื้อนขยายออกไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อบ่งชี้การปนเปื้อนเพิ่มเติม และจะบูรณาการข้อมูลการปนเปื้อนที่พบกับผลการตรวจสอบของหน่วยงานอื่นๆ ผ่านทางคณะกรรมการต่างๆ ที่จะจัดตั้งขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ การแก้ไขในปี 2553 ทางหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ ได้ตรวจสอบพื้นที่ปนเปื้อนเพื่อบ่งชี้สภาพปัญหาและทดสอบการฟื้นฟู ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการขาดระบบเฝ้าระวังคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน ที่ดีและต่อเนื่อง อีกทั้งการจัดการปัญหากรดรั่วไหลของสารเคมีภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่ยังไม่ เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงการซ่อมบำรุง

อย่างไรก็ตาม ในรายงานระบุว่า ข้อสรุปเกี่ยวกับการปนเปื้อนของโลหะหนัก ได้แก่ สารหนู เหล็ก แมงกานีส ซึ่งเป็นสินแร่ที่พบมากในประเทศไทย โดยข้อมูลที่อ้างอิงจากหน่วยงานต่างๆ และการสำรวจของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในพื้นที่จังหวัดระยอง ที่พบว่าน้ำบาดาลมีค่าเหล็กเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งในบริเวณที่มีและไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนกรณีสารหนูสูง จากการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า อาจมีความเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ดีบุกในพื้นที่เมื่อในอดีต

3. ส่วนการจัดการน้ำเสียจากชุมชน ให้วางแผนและศึกษาความเหมาะสม และการออกแบบรายละเอียดของระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่ยังไม่ได้จัดการให้ถูก ต้อง เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาลนครระยอง และสนับสนุนการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการน้ำ เสียเฉพาะจุดเช่น ตลาดสด อาคารสำนักงานราชการ หรือกลุ่มอาคาร