เล็งใช้ SEC ประเมินสิ่งแวดล้อม หวั่นซ้ำมาบตาพุด-แหลมฉบัง (8 ก.ค. 59)
เศรษฐกิจ 8 กรกฎาคม 2559
เล็งใช้ SEC ประเมินสิ่งแวดล้อม หวั่นซ้ำมาบตาพุด-แหลมฉบัง
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ภาคอุสาหกรรมโดยนายกานต์ ตระกูนฮุน กรรมการชี้นำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการเพิ่มผลิตภาพนวัตกรรมและมาตรฐานภาคอุตสาหกรรมได้หารือแผนพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และเตรียมสรุปร่าง พ.ร.บ.ระเบียบเศรษฐกิจพิเศษ ให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมตรี พิจารณาเสนอต่อ ครม.วันที่ 14 ก.ค.นี้คาดว่าจะใช้ในอีก3เดือน
ทั้งนี้จะมีการปรับปรุงเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตลงทุน คือ ปัจจุบันจากที่มีการเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)จะเปลี่ยนมาเป็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)ซึ่งแตกต่างกันที่ EIA คือ การทำธุรกิจในพื้นที่เดียวกันและมีโรงงานติดกันไม่จำเป็นต้องทำอีไอเอ 2 ฉบับ แต่สามารถทำรวมเป็นพื้นที่เดียวครั้งเดียวได้เลย เพราะจะทำให้การบริหารแผนจัดการเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นไปในภาพใหญ่ โดยแผนพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก นอกจากนี้แผนพัฒนาภาคอุตสาหกรรมยังเคยใช้ในพื้นที่มาบตาพุดและแหลมฉบังอีกด้วย
ด้าน ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า หากเร่งรีบในการทำแผนพัฒนามากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ ผลกระทบที่จะเกิดตามมาน่าจะร้ายแรงกว่าปัญหาในมาบตาพุดที่ถึงแม้จะมีขั้นตอนศึกษาและมีการทำแผน EIAอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อมีการขยายโครงการท่าเรือออกไป ปัญหาก็ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายเมื่อมีการพัฒนา ปัญหาก็ยังตามมา ทุกวันนี้อาจจะเห็นปัญหาเงียบลงแล้ว แต่ไม่ใช่มันยังคงรอเวลาที่จะปะทุขึ้นมาอีกครั้ง
ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า หากยิ่งนำการประเมินสิ่งแวดล้อมยุทธศาสตร์มาเป็นตัวตั้ง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ด้านนโยบาย เศรษฐศาสตร์มาใช้กับสิ่งแวดล้อมที่คนละแนวทางกัน ปัญหาจะยิ่งหนักกว่าเดิม เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องมองไปถึงอนาคต ถ้าไม่มีการกั้นโซนพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) ที่ช่วยลดผลกระทบในพื้นที่ดังกล่าว สุดท้ายปัญหามลภาวะทางอากาศก็จะตามมา ไม่ได้กระทบต่อคนที่อยู่รอบข้างเท่านั้นจะกระทบไปถึงเรื่องการเกษตรด้วย ถ้าเราดำเนินการไปแล้วมันมีผลกระทบระยะยาว จึงอยากให้ถอดบทเรียนจากมาบตาพุดและเขตอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่ ที่มีการสุ่มเสี่ยงปัญหาในอนาคต.