พื้นที่ภาคใต้


ท่อก๊าซฯ และโรงไฟฟ้าจะนะ

สถานที่ : ลานหอยเสียบ ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา

ความเสียหาย : เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านในพื้นที่อย่างรุนแรง อีกทั้งการสลายการชุมนุมก็ละเมิดสิทธิมนุษยชน และยังนำไปสู่การฟ้องร้องซึ่งกันและกันตามมาระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและชาวบ้าน ขณะที่การเคลื่อนไหวคัดค้านก็ทำให้หลายคนบาดเจ็บ ถูกจับกุม และถูกข่มขู่คุกคามตามมา

อ่านต่อ...

เตาเผาขยะเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

สถานที่: ต.มะเร็ต อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

ความเสียหาย: กลิ่นเหม็นจากขยะตกค้างสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะชาวบ้านใน ต.มะเร็ต อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จนต้องรวมตัวกันปิดทางเข้า-ออก ไม่ให้รถขยะของเทศบาลเมืองเกาะสมุยแล่นผ่าน
    
ส่วนผลกระทบจากสารไดออกซินที่ปล่อยออกมาจากเตาเผาขยะตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เดินเครื่องเตาเผาขยะนั้น ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ 

ช่วงเวลา: ปี 2542-ปัจจุบัน

อ่านต่อ...

เตาเผาขยะภูเก็ต จ.ภูเก็ต

สถานที่: เตาเผาขยะตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ถ.รัตนโกสินทร์ 200 ปี ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 

ส่วนบ่อฝังกลบขยะตั้งอยู่ใกล้เคียงกันคือ บริเวณคลองเกาะผี ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

ความเสียหาย: กลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียจากขยะตกค้าง สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง และเมื่อฝนตกหนักก็ไหลลงคลองเกาะผี ทำให้น้ำเป็นสีดำและมีกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำในกระชังของชาวบ้านได้รับความเสียหายรวม 6.4 ล้านบาท 
ขณะเดียวกัน ชาวบ้านที่ไปออกกำลังกายบริเวณสวนสาธารณะสะพานหิน รวมทั้งผู้อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง ก็เดือดร้อนจากกลิ่นและควันจากโรงเผาขยะ
    
ส่วนผลกระทบจากสารไดออกซิน และโลหะหนักจำพวกตะกั่ว ทองแดง และแคดเมียมที่ปล่อยออกมาจากเตาเผาขยะนั้น ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ 

ช่วงเวลา: ปี 2542-ปัจจุบัน

อ่านต่อ...

ทะเลสาบสงขลาเน่า

สถานที่: ทะเลสาบสงขลาครอบคลุม 3 จังหวัดคือ พัทลุงทั้งจังหวัด สงขลา 12 อำเภอ และนครศรีธรรมราช 2 อำเภอ มีพื้นที่เป็นแผ่นดินและทะเลสาบรวม 8,727 ตารางกิโลเมตร 
ความเสียหาย : ประเมินค่าไม่ได้

ช่วงเวลา: 2544 ทะเลสาบสงขลาเริ่มเน่าเสียถึงขั้นวิกฤต ทำให้รัฐบาลมีนโยบายทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อฟื้นฟู

อ่านต่อ...

พิษสารหนูที่ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

สถานที่: ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

ความเสียหาย: การปนเปื้อนและแพร่กระจายของสารหนูในแหล่งน้ำที่ชาวบ้านบริโภคมาหลายชั่วอายุคน ทำให้ชาวบ้านกว่า 1,500 ราย ได้รับพิษสะสมกระทั่งเจ็บป่วยด้วยโรค “ไข้ดำ” อีกทั้งยังเป็นโรคมะเร็งผิวหนังตามมา 
    
ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นของตนเองได้ เพราะมีสารหนูปนเปื้อน โดยภาครัฐขุดเจาะบ่อบาดาลและวางระบบประปาให้แทน
    
รัฐบาลแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการอนุมัติให้คณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ เบิกจ่ายเงินกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดซื้อวัสดุปั้นโอ่ง 750,000 บาท ค่ายาบำบัดรักษาผู้ป่วย 419 ราย จำนวน 400,000 บาท สนับสนุนราษฎรยากไร้ 1,151 ราย จำนวน 1,151,000 บาท
    
กรมทรัพยากรธรณีได้นำกากแร่ที่ปนเปื้อนสารหนูประมาณ 3,700 ลูกบาศก์เมตร ไปฝังกลบ และฟื้นฟูพื้นที่ทำเหมืองแร่เดิม โดยใช้งบประมาณราว 600 ล้านบาท
    
ขณะที่ภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวังปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากการปนเปื้อนของสารหนูในสิ่งแวดล้อม ประมาณปีละ 8.7 ล้านบาท

ช่วงเวลา: เดือนสิงหาคม 2530-ไม่แน่ชัด

อ่านต่อ...

แท่นขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทย

อ่านต่อ...

แม่น้ำตาปีเน่า

อ่านต่อ...

โรงไฟฟ้าและโรงแยกก๊าซฯ ขนอม

อ่านต่อ...