สถานที่: บ้านหนองแหน ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ความเสียหาย: ความแตกแยกของชาวบ้านในชุมชนที่แบ่งออกเป็นฝ่ายสนับสนุน-คัดค้านโรงไฟฟ้า
เจ้าของที่ดินหลายรายถูกบังคับรอนสิทธิ์ในที่ดินของตนเอง เพื่อให้วางท่อส่งก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว เพื่อส่งก๊าซป้อนให้โรงไฟฟ้า
พื้นที่ภาคกลาง
แรงต้านโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2
"คลังสารเคมีระเบิด" ที่ท่าเรือคลองเตย
สถานที่: ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ความเสียหาย: มีผู้เสียชีวิตทันที 4 คน บาดเจ็บสาหัสกว่า 30 คน (เป็นตำรวจดับเพลิง 16 คน) มีผู้ป่วยจากการได้รับสารพิษต้องเข้ารับการรักษา 1,700 คน (เป็นหญิงมีครรภ์ 499 คน) และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 5,000 คน
ต่อมามีผู้เสียชีวิตภายหลังเหตุการณ์ที่คาดว่าเกี่ยวเนื่องมาจากได้รับพิษภัยของสารเคมี 43 คน และมีผู้ป่วยเรื้อรังอีกนับร้อยคน ซึ่งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเหล่านี้ล้วนไม่ได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าเกี่ยวเนื่องจากสารเคมีที่ได้รับในวันเกิดเหตุ
มีทรัพย์สินของชุมชนเสียหายประมาณ 37 ล้านบาท และทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเสียหายประมาณ 40 ล้านบาท โกดังเก็บสินค้าอันตราย 3 ใน 5 หลัง ถูกเผาจนหมดสิ้น
โคบอลต์ 60 แผ่รังสี
สถานที่: ร้านรับซื้อของเก่าสมจิตร ซ.วัดมหาวงศ์ จ.สมุทรปราการ
ความเสียหาย: มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 10 ราย (บางรายพิการ ขณะที่หญิงมีครรภ์บางรายต้องทำแท้ง เพราะตรวจเลือดพบความผิดปกติ) และชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงในรัศมี 50-100 เมตร รวม 1,614 คน ต้องเฝ้าระวังและตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน
ช่วงเวลา: มกราคม - กุมภาพันธ์ 2543
บ่อขยะอันตราย ของบริษัท Better World Green
สถานที่: หมู่ 8 ต.ห้วยแห้ง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ความเสียหาย: มีกลิ่นเหม็นจากบ่อขยะจนชุมชนรายรอบเวียนศีรษะ โดยเฉพาะเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ใกล้กับบ่อขยะ
ตรวจพบสารพิษตกค้างในเลือดของชาวบ้านและสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่รอบบ่อขยะ
ครูเกือบทั้งโรงเรียนบ้านเขาจำปายื่นหนังสือขอย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากผลการตรวจสุขภาพพบว่ามีสารพิษตกค้างในกระแสเลือด
สถิติการเจ็บป่วยของชาวบ้าน 3 ตำบลรอบบ่อขยะ เป็นโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
มีสารโลหะหนักจำพวก แมงกานีส นิเกิล ปรอท ปนเปื้อนลงแหล่งน้ำจนพื้นที่เกษตรเสียหาย ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำได้ตามปกติ หากสัมผัสน้ำจะเกิดผื่นคัน
สัตว์เลี้ยงของชาวบ้านแคระแกรน และแท้งลูก
ช่วงเวลา : ปี 2542 - ปัจจุบัน
บ่อขยะราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ
สถานที่: พื้นที่ 200 ไร่ ของหมู่ 14 ถ.กิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
ความเสียหาย: กลิ่นเหม็นจากกองขยะที่มีขนาดมหึมา รบกวนชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจามจุรี
น้ำจากบ่อขยะไหลออกไปปะปนในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้ และมีปลาตาย
ความขัดแย้งยกระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการข่มขู่คุกคามชาวบ้านที่ออกมาเคลื่อนไหว ยิงปืนใส่รถยนต์ที่จอดอยู่ในบ้าน บานปลายกลายเป็นการลอบยิงแกนนำคือ นายสุวัฒน์ วงศ์ปิยะสถิต เสียชีวิตเมื่อ 26 มิถุนายน 2544
ช่วงเวลา: ปี 2542 - 2554
สมุทรปราการ...มลพิษยุคบุกเบิก
สถานที่: พื้นที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมทั้ง 6 อำเภอของ จ.สมุทรปราการ
ความเสียหาย: มลพิษทางน้ำคือปัญหาใหญ่ของจังหวัดสมุทรปราการ มีสาเหตุสำคัญ คือทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งธรรมชาติ รวมทั้งสารเคมีเป็นพิษต่างๆ ทำให้แหล่งน้ำเสีย แม้จะประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษตั้งแต่ปี 2537 แต่คุณภาพน้ำของจังหวัดสมุทรปราการก็ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการอุปโภค บริโภคได้
ช่วงเวลา: ปี 2536 - ปัจจุบัน
รถแก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
สถานที่ : จุดลงทางด่วน ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร
ความเสียหาย: มีผู้เสียชีวิตทันที 54 คน (รวมทั้งคนขับรถบรรทุกคันก่อเหตุ) บาดเจ็บสาหัส 102 คน ต่อมามีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 89 คน
ตึกแถว 2 ฟากถูกเพลิงไหม้เสียหาย 38 ห้อง ชุมชนแออัดที่อยู่ด้านหลังของตึกแถวถูกไฟไหม้เสียหาย 100 หลังคาเรือน รถยนต์ถูกเผา 43 คัน รถจักรยานยนต์ 4 คัน รวมทั้งรถบรรทุกแก๊สคันที่ก่อเหตุ ซึ่งบรรจุถังแก๊สรูปแคปซูล 2 ถังๆ ละ 20,000 ลิตร ถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด
ช่วงเวลา: 22.00 น. ของวันที่ 24 กันยายน - 22.00 น. ของวันที่ 25 กันยายน 2533
เรือบรรทุกน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา จ.อ่างทอง
สถานที่: ต.บางเสด็จ และ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
ความเสียหาย: เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังใน จ.อ่างทองได้รับความเสียหายจำนวน 90 ราย 587 กระชัง มูลค่าความเสียหาย 14,940,750 บาท
ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังใน จ.พระนครศรีอยุธยาได้รับความเสียหายจำนวน 108 ราย 481 กระชัง มูลค่าความเสียหาย 12,377,750 บาท
ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ได้แจ้งค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการตรวจสอบและดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยามายังกรมควบคุมมลพิษ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,423,798.67 ล้านบาท