สถานที่: พื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 6,700 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบลคือ บ้านตาล หัวทะเล บ้านเพชร และบ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ
ความเสียหาย: ไร่นาของชาวบ้านที่อยู่ใกล้พื้นที่เหมืองกลายเป็นทุ่งเกลือ ปัญหาดินเค็มเกิดขึ้น แต่ไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้
พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เหมืองโปแตชอาเซียน จ.ชัยภูมิ
เหมืองโปแตส อุดรธานี
สถานที่: พื้นที่ 5 อำเภอคือ เมือง ภุมวาปี หนองหาน เพ็ญ และกิ่ง อ.ศรีประจักษ์ศิลปคม จ.อุดรธานี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 67,000 ไร่
ความเสียหาย : เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านด้วยกัน โดยแบ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน-คัดค้านโครงการ บางคนถูกดำเนินคดี
แยกขยะอันตรายด้วยมือเปล่าที่ "บ้านโคกสะอาด"
สถานที่: ต.โคกสะอาด อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์
ความเสียหาย: ควันและกลิ่นเหม็นจากการเผาเศษของเก่าที่หลุมขยะของ อบต.โคกสะอาด สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะชาวบ้านใน ต.หนองตอกแป้น ซึ่งอยู่ทิศใต้ลม จนมีชาวบ้านร้องเรียนหลายครั้ง
ส่วนความเสียหายจากการเทเศษของเหลวในขั้นตอนการคัดแยกของเก่า เช่น น้ำกรด น้ำมันเครื่อง ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เช่นเดียวกับมลพิษในอากาศจากกระบวนการเผาชิ้นส่วนเพื่อแยกเอาวัสดุมีค่า เช่น เผายางรถยนต์เพื่อเอาเส้นลวด
เจนโก้ลอบทิ้งขยะพิษ
สถานที่: หมู่ที่ 1 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ความเสียหาย: สารเคมีที่บรรจุไว้ในถัง 200 ลิตร จำนวน 4,000-5,000 ถัง ได้รั่วไหลเจิ่งนองบนพื้นดิน ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ โดยน้ำบนผิวดินพบสารปนเปื้อนซึมลึกลงสู่พื้นดินกว่า 1 เมตร
ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะพิษครั้งนี้ รวมทั้งไม่ปรากฏว่ามีการลงโทษบริษัทเจนโก้ ในฐานะเจ้าของสารเคมีอันตรายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างไร
ช่วงเวลา: กันยายน 2547
โรงไฟฟ้าสูบกลับลำตะคอง จ.นครราชสีมา
สถานที่: ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
ความเสียหาย: ฝุ่นควันที่เกิดจากการระเบิดอ่างและท่อส่งน้ำวันละ 2 ครั้งเป็นเวลานาน 2 ปี 7 เดือน ทำให้แหล่งน้ำ ผลผลิตทางการเกษตร สัตว์เลี้ยง ได้รับความเสียหาย ขณะที่สุขภาพของชาวบ้านทรุดโทรมและเจ็บป่วยเรื้อรัง กระทั่งเสียชีวิตโดยไม่มีแพทย์คนใดกล้าชัดถึงสาเหตุ
เมื่อผลผลิตเสียหาย ชาวบ้านก็ขาดรายได้ จนไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้คืนให้กับสหกรณ์ได้ และเกิดภาวะหนี้สินตามมา