ข่าว/บทความ
รู้จัก “POPs” – สารมลพิษตกค้างยาวนาน กับความพยายามแก้ปัญหาในระดับนานาชาติ
(26 เม.ย. 66) - มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ชวนทำความรู้จักสารมลพิษตกค้างยาวนานหรือ POPs (Persistent Organic Pollutants) ทั้งในมิติของภัยอันตราย แหล่งกำเนิด และความพยายามในการควบคุมและกำจัดสารอันตรายนี้ในระดับนานาชาติ
น้ำเสีย-ปลาตาย ระลอกใหม่ที่ "หนองพะวา" ระหว่างกระบวนการบำบัดพื้นที่โรงงาน "วินโพรเสส"
(17 เม.ย. 66) ต. บางบุตร จ. ระยอง - ชาวบ้านหนองพะวา พบเหตุปลาในบ่อน้ำธรรมชาติตายผิดปกติ ในขณะที่การบำบัดน้ำปนเปื้อนมลพิษของบริษัท วิน โพรเสส อยู่ระหว่างดำเนินการ จึงเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบตรวจสอบว่า กระบวนการบำบัดของเสียจากโรงงานเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องหรือไม่
PM 2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 3: สารมลพิษทางอากาศกับผลกระทบแสนอันตราย
มลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมมีความพิเศษด้านลบเฉพาะตัว เนื่องจากมักปนเปื้อนด้วยสารมลพิษที่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนทั้งคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ทำความรู้จักสารเหล่านี้และพิษภัยของมันในตอนที่ 3 ของชุดบทความ "PM 2.5 กับอุตสาหกรรม" ของมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
PM 2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 2: กรณีมลพิษอากาศอุตสาหกรรมในตำนาน
ปัญหามลพิษอากาศอุตสาหกรรมในประเทศไทยเกิดขึ้นมานานแล้ว และเกิดในหลายพื้นที่ ตอนที่ 2 ของชุดบทความ PM 2.5 และอุตสาหกรรม ของมูลนิธิบูรณะนิเวศขอนำเสนอกรณีปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรม ตั้งแต่แม่เมาะ จ. ลำปาง, มาบตาพุด จ. ระยอง, และจังหวัดสมุทรสาคร
PM2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 1: ในม่านมัวของปัญหาฝุ่น PM2.5 มี “อุตสาหกรรม” ซ่อนเร้นอยู่
ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อนที่ปัญหาฝุ่นเริ่มกลายเป็นปัญหาใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ในบทความนี้ มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางอากาศกับอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรม “เป็นตัวการหนึ่ง” ของปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยจะแบ่งการนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดออกเป็น 5 ตอน ซึ่งนี่คือตอนที่ 1
ย้อนเหตุการณ์โคบอลต์-60 และภัยจากการแผ่กัมมันตภาพรังสี
สังคมไทยได้สัมผัสความน่ากลัวของสารกัมมันตรังสีและกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมาเป็นครั้งแรก เมื่อแท่งโคบอลต์ 60 หลุดรอดออกจากสถานที่จัดเก็บของบริษัทกมลสุโกศล อิเลคทริค จำกัด และแผ่กัมมันตภาพรังสี จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 10 ราย (บางรายพิการ ขณะที่หญิงมีครรภ์บางรายต้องทำแท้ง เพราะตรวจเลือดพบความผิดปกติ) ประชาชนละแวกใกล้เคียงในรัศมี 50-100 เมตร รวม 1,614 คน ต้องเฝ้าระวังและตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน
ชาวบ้านห้วยหิน อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา ประสานเสียง ห้าม อบต. ลาดกระทิง อนุญาตการสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิล ในพื้นที่
(27 ก.พ. 66) สนามชัยเขต, ฉะเชิงเทรา - ชาวบ้านห้วยหินยืนยันห้าม อบต. ลาดกระทิงอนุญาตการก่อสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิลในพื้นที่
รัฐมนตรีอุตสาหกรรมรับลูก สั่งพิจารณาการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานรีไซเคิลขยะ ที่ห้วยหิน โดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างเคร่งครัด
(10 มี.ค. 66) ฉะเชิงเทรา - รัฐมนตรีอุตสาหกรรมรับลูก สั่งพิจารณาการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานรีไซเคิลขยะ ที่ห้วยหิน โดยคำนึงถึงผลกระทบอย่างเคร่งครัด
ชาวบ้านห้วยหิน อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา ประสานเสียง ห้าม อบต. ลาดกระทิง อนุญาตการสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิล ในพื้นที่
(27 ก.พ. 66) สนามชัยเขต, ฉะเชิงเทรา - ชาวบ้านห้วยหินยืนยันห้าม อบต. ลาดกระทิงอนุญาตการก่อสร้างอาคารโรงงานรีไซเคิลในพื้นที่
ครม. มีมติห้ามนำเข้าเศษพลาสติกตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
(21 ก.พ. 2566) ครม. อนุมัติมาตรการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป EARTH ชวนติดตามผลทางปฏิบัติจริง เตือนต้องเฝ้าระวังว่าจะเกิดการ “ปูด” ในส่วนของขยะพลาสติก ชนิดอื่นหรือไม่