ข่าว/บทความ
(18 ม.ค. 67) โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรม: ต้นตอฝุ่นพิษที่ถูกลืมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคประชาสังคมเสนอรัฐบาลจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ และผ่านกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและ เคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)
read more...PM2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 4: เจาะดูมาตรการ “ฝ่าฝุ่น” ของประเทศอื่น
โดย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง และสุกรานต์ โรจนไพรวงศ์ (มูลนิธิบูรณะนิเวศ, ธันวาคม 2566)
เมื่อราว 10 ปีก่อน ประเทศจีนเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5 หนักหน่วง จนประชาชนจำนวนมากเจ็บป่วย และภาพลักษณ์ประเทศเสียหาย แต่เมื่อมีการศึกษาพบว่าสาเหตุหลักมาจากไหนและอะไรเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญ ภาครัฐก็วางแผนปฏิบัติการลงมือแก้ปัญหาจริงจัง มีทั้งมาตรการการลงดาบผู้ก่อมลพิษจนถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน ด้วยเจตจำนงอันมุ่งมั่นและความจริงใจ ปัญหาจึงเบาบางลงไป
การแก้ปัญหา PM2.5 ในพื้นที่ กทม. ควรมุ่งไปที่ “ปิ้งย่าง” จริงหรือ ?
ฤดูกาลของปัญหาฝุ่น PM2.5 เวียนมาสู่หลายจังหวัด รวมถึง กทม. อีกครั้งหนึ่ง และคาดว่าสถานการณ์ปัญหาของปีนี้อาจจะรุนแรงกว่าหรืออาจจะรุนแรงพอกันกับปีที่ผ่านมา ขณะที่แนวทางการแก้ปัญหา ยังคงย่ำอยู่กับเรื่องไฟป่า การเผาภาคเกษตร และการคมนาคม ที่เพิ่มเติมมาสำหรับ กทม. คือมีการเล็งไปที่ร้านปิ้งย่าง ทำให้เกิดคำถามและความข้องใจว่า หากเทียบร้านปิ้งย่างที่ว่ามีจำนวนมากมาย กับโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 13,000 โรงที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อะไรเป็นสาเหตุที่เสริมความรุนแรงของปัญหา PM2.5 และมลพิษอากาศที่กำลังทำลายสุขภาพของประชาชน มากกว่ากัน ?
งานเสวนานโยบายและมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศที่ประเทศต้องการ ห้องย่อยที่ 4: “PM2.5 ในฝุ่นอุตสาหกรรมกับต้นเหตุที่ถูกมองข้าม”
ห้องย่อยที่ 4: “PM2.5 ในฝุ่นอุตสาหกรรมกับต้นเหตุที่ถูกมองข้าม”
วันอาทิตย์ ที่ 3 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 – 16.30 น.
การประชุมระดับชาติ เรื่อง มลพิษทางอากาศ PM2.5 ครั้งที่ 1 (Thailand National PM 2.5 Forum ): “อากาศสะอาด: ความรับผิดชอบร่วมของรัฐ เอกชน และประชาสังคม”
วันที่ 3 – 4 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่
"บาเซลแบน" มีผลคุ้มครองไทยจากขยะพิษข้ามแดนตั้งแต่ 7 มิถุนายนนี้
(7 มิ.ย. 66) - ภาคแก้ไขของอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งข้อบทดังกล่าวกำหนดว่า ประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) สหภาพยุโรป (EU) และลิกเตนสไตน์ ต้องยกเลิกการส่งออกของเสียอันตรายภายใต้อนุสัญญาบาเซลฯ มายังประเทศที่ให้สัตยาบันแก่ภาคแก้ไขของอนุสัญญาบาเซล
EARTH-Arnika แถลงการณ์ร่วม: เปิดตัวเว็บไซต์ "แผนที่มลพิษประเทศไทย" ผลักดันสิทธิการเข้าถึงข้อมูลในวันสิ่งแวดล้อมโลก
กรุงเทพฯ-ปราก, 6 มิถุนายน 2566 – เนื่องในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และสมาคมอาร์นิก้า ได้เปิดตัวเว็บไซต์ “แผนที่มลพิษประเทศไทย” เพื่อให้ทดลองใช้ โดยแผนที่นี้จะแสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากของเสียอันตรายและมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งรวบรวมมาจากการติดตามสถานการณ์มลพิษในประเทศไทย
ชาวศรีเทพสุดทนกลิ่นเหม็นแสบจมูก ร้องหน่วยงานดูแลแก้ไข
(1 มิ.ย. 66), เพชรบูรณ์ - ชาวบ้านม่วงชุม ต.คลองกระจัง อ. ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ รายงานว่า ได้รับผลกระทบกลิ่นเหม็น แสบจมูก ซึ่งเป็นผลกระทบที่ยังไม่หายไปจากพื้นที่ จึงได้รวมตัวกันไปร้องเรียนและยื่นหนังสือกับ อบต. และศูนย์ดำรงธรรม ให้ช่วยดูแลแก้ไขปัญหา
ไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา ยาวข้ามคืนจากวันเลือกตั้งจนวันนี้
(14 พ.ค. 66), สมุทรปราการ - เกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา หมู่ 4 ซ. แพรกษา 8 ต. แพรกษา อ. เมือง จ. สมุทรปราการ โดยชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงพบว่า มีควันสีดำและสีขาวลอยออกจากบ่อขยะจนปกคลุมพื้นที่รอบข้าง ซึ่งเหตุการณ์ได้เกิดต่อเนื่องข้ามคืน ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่เกิดอาการระคายเคืองตา แสบคอ แสบจมูก
ชาวน้ำพุรวมพลัง ปลูกพืชทดลองเพื่อดูดซับสารพิษ หวังฟื้นฟูห้วยน้ำพุ
(11 พ.ค. 66), ราชบุรี - ชาวชุมชน ต. น้ำพุ อ. เมือง จ. ราชบุรี ผู้ได้รับผลกระทบจากกิจการรีไซเคิลของเสียอันตรายของบริษัทแวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด ร่วมทำกิจกรรมพึ่งตนเอง ด้วยการทำแปลงทดลองปลูกพืชดูดซับสารพิษเพื่อฟื้นฟูลำห้วยน้ำพุ หลังจากรอมานานเกือบ 3 ปี แต่ยังไม่มีการดำเนินการฟื้นฟูลำห้วย แหล่งน้ำ และสภาพแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อมที่พรรคการเมืองควรมี ในเวทีเลือกตั้งปี 2566
(10 พฤษภาคม 2566), อีกไม่กี่วันประเทศไทยจะเข้าสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โอกาสนี้ มูลนิธิบูรณะนิเวศ ขอนำเสนอมุมมองและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่แต่ละพรรคการเมืองควรมี