"ข้อตกลงปารีส" เพื่อต่อสู้ภาวะโลกร้อน (11 มิ.ย. 60)

PPTV 11 มิถุนายน 2560
“ข้อตกลงปารีส” เพื่อต่อสู้ภาวะโลกร้อน

หลังจากที่เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อนที่ท่านประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจยกเลิกสนธิสัญญาปารีสไป ก็ทำให้ผู้คนในหลายประเทศจับตามองถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปกับโลกของเรา

เพราะสนธิสัญญาฝรั่งเศสเดิมนั้นมีไว้เพื่อป้องกันภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก โดยในเนื้อหาสัญญาจะมีผลบังคับให้แต่ละประเทศลดการใช้เชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิลลง เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส ในทวีปแถบตะวันตก และตะวันออก ได้ให้การร่วมมือกันแทบจะทุกประเทศเว้นแต่ประเทศนิการากัว และซีเรีย ซึ่งสองประเทศนี้ยังไม่เป็นที่น่ากังวลเท่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่ถือได้ว่าเป็นตัวการใหญ่ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกรายหนึ่งนั่นเอง

โดยผู้ที่เคลื่อนไหวหนักที่สุดคือซีอีโอเทสลาอย่าง อีลอน มัสก์ ที่ทวีตว่า เขาตัดสินใจลาออกจากคณะที่ปรึกษาของประธานาธิบดี เพราะไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจครั้งนี้ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่จะส่งผลเสียต่อสหรัฐอเมริกาและต่อโลก      

ก่อนหน้านี้ มัสก์ เปิดเผยต่อสาธารณะชนว่า จะยอมอดทนอยู่ในคณะที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับคำสั่งเรื่องการอนุญาตบุคคลเข้าเมือง หรือคำสั่งแบนมุสลิม 6 ประเทศ แต่จุดแตกหัก คือ เรื่องโลกร้อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเทสลา (Tesla) คือ บริษัทที่แสดงตัวว่า มีอุดมการณ์สร้างสรรค์เทคโนโลยีสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม ทั้งรถพลังงานไฟฟ้า และระบบพลังงานแสงอาทิตย์

ทิม คุ๊ก (Tim Cook) ซีอีโอแอปเปิล ก็กล่าวในจดหมายถึงพนักงานแอปเปิลว่า ความพยายามของเขาไร้ผล ทำให้ไม่สามารถโน้มน้าวให้ทรัมป์ กลับไปทำข้อตกลง ซึ่งจะการันตีได้ว่า สหรัฐฯ จะพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง โดยซีอีโอแอปเปิล ระบุว่า จะยังคงผลักดันการใช้พลังงานสะอาดที่แอปเปิล รวมทั้งบริษัทซัปพลายเออร์รายอื่นของแอปเปิล

ด้านซีอีโอกูเกิล ซันดาร์ พิชัย (Sundar Pichai) ก็โพสต์ข้อความต่อต้านการตัดสินใจครั้งนี้เช่นกัน

แม้แต่นักแสดงรางวัลออสการ์ อย่าง ลีโอนาโด ดิคาปริโอ ก็ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า เราเข้าใกล้ความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นจากการตัดสินใจครั้งนี้ และความท้าทายอย่างหนึ่งคือทำอย่างไรให้ผู้นำที่ไม่เชื่อเรื่องโลกร้อนได้เข้าใจความจริงเสียที โดยเรียกร้องให้ทุกคนลุกขึ้นมาแสดงพลังเพื่อต่อสู้กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ตั้งแต่โลกของเราเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ผ่านมาแล้วเกือบ 70 ปี

ซึ่งการร่วมมือของหลายประเทศที่ทำสนธิสัญญานี้ขึ้น ก็เพราะตระหนักถึงสภาวะเรือนกระจก หรือโลกร้อน ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ