กฟผ.ลุยสำรวจโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น - ตอนที่ 2: ต้นแบบไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริวะ (21 ส.ค. 55)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 21 สิงหาคม 2555
กฟผ.ลุยสำรวจโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น (2) ต้นแบบไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริวะ

การสำรวจโรงไฟฟ้าของ "การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย" (กฟผ.) ต่อจาก "มัตสุอุระ" ซึ่งเป็นถ่านหินแบบเปิดในเครือของบริษัท เจ พาวเวอร์ จำกัด ในเมืองนางาซากิเสร็จสิ้นลง "พงษ์ดิษฐ พจนา" ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม และทีมงานบริหาร กฟผ.นำคณะเดินทางไปยังเมืองนิอิกาตะเพื่อศึกษารูปแบบโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ "คาชิวาซากิ-คาริวะ" ของ Tokyo Electric Power Company :TEPCO ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาที่เสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อมีนาคม 2554
 
หลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมาเกิดสารกัมมันตรังสีรั่วไหล รัฐบาลญี่ปุ่นได้สั่งปิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศทั้งหมด 54 แห่ง และในจำนวนนี้เป็นของ TEPCO 17 โรง มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 7 แห่ง ส่วนโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังความร้อนร่วม ยังเปิดปกติ
 
ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งอนุญาตให้เปิดเดินเครื่อง
 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพียง 2 โรงเท่านั้น เป็นของบริษัท คันไซ อิเลคทรอนิกส์ พาวเวอร์ ส่วนที่เหลือทางรัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการปรับปรุงระเบียบปฏิบัติและเพิ่มมาตรฐานตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี โดยทุกโรงจะต้องรายงานการปรับปรุงให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบจนกว่าจะได้รับอนุญาตให้เปิดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์อีกครั้ง
 
"กาทูฮิโกะ ฮายาชิ" ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร กับ "มาสะทาเกะ ทากูชิ" วิศวกรความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ ของ
 
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ "คาชิวาซากิ-คาริวะ" อธิบายว่าโรงไฟฟ้าแห่งนี้มีทั้งหมด 7 ยูนิต มูลค่าการลงทุนรวม 3 ล้านล้านเยน มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 8,212 เมกะวัตต์ 
 
ครอบคลุมพื้นที่ 4.2 ตารางกิโลเมตร ได้รับการบันทึก กินเนสส์ เวิร์ลด์ เร็กคอร์ดสให้เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ติดชายฝั่งทะเลระหว่าง 2 หมู่บ้าน คือ คาชิวาซากิ กับ คาริวะ ซึ่งสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงได้ตามปกติ เพราะการลงทุนได้นำเทคโนโลยีมีความปลอดภัยสูงสุดซึ่งสามารถทนแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ถึง 3 เท่า รวมถึงการออกแบบระบบหม้อไอน้ำซึ่งมีทั้งแบบ BWR : Boiling Water Reactor ABWR : Advance Boiling Water Reactor ทำให้เกิดพลังงานความร้อน ต่อเนื่องไปทำปฏิกิริยากับน้ำมัน และยูเรเนียม โดยพลังงานความร้อนกับไอน้ำจะเข้าไปในเครื่องยนต์เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า
 
ส่วนการออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและสามารถตั้งอยู่ใจกลางชุมชนมายาวนานกว่า 30 ปี 
ได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือวิถีชีวิตชุมชน 
 
เป็นผลมาจากการใช้เครื่องจักรซึ่งสามารถหยุดทำงานโดยอัตโนมัติหากเกิดความผิดพลาดขึ้นในระบบ จึงทำให้รัศมีรอบโรงไฟฟ้าแห่งนี้สำรวจแล้วพบว่าสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่กว่า 214 ชนิด ในการก่อสร้างได้ทำโรงไฟฟ้าพร้อมกัน 2 หมู่บ้าน คือ คาชิวาซากิ ยูนิตที่ 1 แล้วข้ามไปคาริวะ ยูนิตที่ 5 จากนั้นจึงกลับมาสร้างยูนิต 2,3,4 กับ ยูนิตที่ 5, 6, 7 เพื่อให้ทั้ง 2 หมู่บ้านได้รับประโยชน์ทางรายได้เท่าเทียมกัน
 
อนาคตได้วางแผนลงทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยูนิต 6-7 จะเป็นแห่งแรกของโลกที่นำ ABWR : Advance Boiling Water Reactor เข้ามาใช้ ส่วนยูนิตที่ 1, 2, 3 ใช้เครื่องจักรนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เคยได้รับผลกระทบจาก
 
แผ่นดินไหวปี 2550 ขนาด 6.8 ริกเตอร์ รัศมีการเกิดอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้า 16 กม.
 
สร้างความเสียหายกับเมืองคาชิวาซากิ แต่เนื่องจากโรงไฟฟ้าสร้างระบบป้องกันแรงสั่นสะเทือนไว้ดีถึง 3 เท่าจึงกระทบน้อยมาก ไม่ได้เสียหายเลยคือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบระบายความร้อน และเครื่องปฏิกรณ์ของกัมมันตรังสี
 
พอมาถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและฟูกูชิมา ห่างจากโรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ 180 กม.ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 1,000 เท่า บวกกับมีคลื่นยักษ์โจมตีด้วยความสูง 15 เมตร เครื่องป้องกันที่สร้างไว้ 7 เมตร ต้านทานไม่ได้
 
บทเรียนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาครั้งนั้น ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ
 
ต้องปรับแผนลงทุนเพิ่มเต็มที่ ใช้เงินกว่า 70,000 ล้านเยน ทำเขื่อนป้องกันน้ำทะเลไม่ให้เข้ามายังเตาปฏิกรณ์ได้ ด้วยความสูงรวม 15 เมตร จากระดับน้ำทะเล จะแล้วเสร็จกรกฎาคม 2556 รวมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์พร้อมใช้งาน
 
ยามฉุกเฉิน ได้แก่ รถบรรจุก๊าซเทอร์ไบด์ไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ มี 2 เซต เซตละ 9 คัน แต่ละเซตปั่นไฟได้ 4,500 จิกะวัตต์ มีขีดความสามารถปั่นกระแสไฟฟ้าสำรองได้มากสุดถึง 9,000 จิกะวัตต์ ลานปูนมีแท็งก์น้ำมันเชื้อเพลิงขนาด 1.5 แสนลิตร 
 
ทั้งนี้ทั่วโลกกำลังจับตานวัตกรรมใหม่ของ "ฟูกูชิมา" และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นที่พยายามจะเอาชนะธรรมชาติจากแผ่นดินไหว และ กฟผ.เอง ก็สนใจรูปแบบการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น 
 
ซึ่งรักษากติกาและให้ความสำคัญสูงสุดกับการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดทุกขั้นตอน โดยรัฐบาลญี่ปุ่นยอมปิดโรงไฟฟ้า
 
นิวเคลียร์ 54 แห่ง ยาวนานถึง 2 ปี เพื่อให้แน่ใจความปลอดภัยหลังการปรับปรุงใหม่ 
 
สำหรับประเทศไทยได้จัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ (PDP 2012) กำหนดให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ 2 แห่ง กำลังการผลิตแห่งละ 1,000 เมกะวัตต์ โดยเลื่อนแผนเริ่มก่อสร้างจากปี 2563 เป็นปี 2569 แต่จะทำสำเร็จหรือไม่ ต้องรอดูกันต่อไป